ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

Jakkri Tumman
มานิตย์ อาษานอก, Dr.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ และ 2) ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 12 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลาก และ ผู้เชี่ยวชาญในการความเหมาะสมขององค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ จำนวน 3 คน โดยเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเทคโนโลยีสารสนเทศ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือมีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ และ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ 1) โมดูลฐานข้อมูลงานวิจัยและนักวิจัย 2) โมดูลฐานข้อมูลวารสารวิชาการ 3) โมดูลฐานข้อมูลงานบริการวิชาการ จัดโครงการ และ 4) โมดูลการจัดข้อมูลผู้ใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมขององค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นุชนาถ อินทรวิจิตร. (2557). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง ตัวแปรและตัวดำเนินการในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป (C#). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
[2] ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2551). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ:เครื่องมือการพัฒนาประเทศไทย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลาสนครินทร์, 19(3), 34-46.
[3] วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร, นิรุติ ไล้รักษา, และ บดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการสำหรับคณะ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 29-38.
[4] เสาวลักษณ์ รัตนิพนธ์. (2553). ความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการแก่สังคม. งานบริการวิชาการ ระบบการจัดการองค์ความรู้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร.
[5] วรปภา อารีราษฎร์. (2559). การวิจัยและบริการวิชาการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559.
[6] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2556). แผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2556-2560. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[7] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2553). แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการประกัน คุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 การให้บริการวิชาการแก่สังคม.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (องค์การมหาชน). (2554). คูมือการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถาบันศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ
พับลิชชิ่ง.
[9] คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2557). แผนการบริการวิชาการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, มหาสารคาม.
[10] พัชรนันท์ กุลวรพิสิษฐ์. (2558). องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ. เอกสารประกอบการสอนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียน
พิมายวิทยา.
[11] ภัทรพงษ์ อักษร, ธรัช อารีราษฎร์, วรปภา อารีราษฎร์, บดินทร์ แก้วบ้านดอน, เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร, และ นิรุติ ไล้รักษา. (2559). การศึกษาองค์ประกอบเว็บไซต์ต้นแบบสำหรับ
หน่วยงานและบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม.
[12] กาญจนา ดงสงคราม. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการสาขาวิชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[13] Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.