การติดตามผลการใช้ระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ศิคริษฐ์ คุณชมภู
วรปภา อารีราษฎร์, Ph.D.
ธรัช อารีราษฎร์, Ph.D.

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การใช้ระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มนักท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาการรับรู้การดำเนินงานตามตัวชี้วัดระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน จาก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวจากการทดลองใช้ระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม จำนวน 23 คน และกลุ่มผู้แทนจากแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 9 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการรับรู้ระบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม และ แบบสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มนักท่องเที่ยวมีการรับรู้ระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2. เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้ดำเนินงานตามตัวชี้วัดการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม ครบทุกตัวชี้วัด โดยมีการดำเนินงานอยู่ระหว่าง ร้อยละ 33.33 ถึง 100 และ ผลการสัมภาษณ์เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวโดยสรุป พบว่า เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วม ในการนำหลักการและแนวคิดด้านวัฒนธรรม และแนวคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มาใช้ในชุมชน ทำให้องค์การได้ทบทวนและจัดทำองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวในด้านโครงสร้าง  ด้านกลยุทธ์ ด้านระบบและการจัดการ และ ด้านทีมงาน ที่มีตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานในแต่ละด้าน มีความพึงพอใจต่อการนำไอซีทีมาใช้ในการบริหารจัดการ การจัดทำสื่อนำเสนอและการประชาสัมพันธ์ และมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมงานวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
[2] กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2555). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาการเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
[4] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
[5] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[ททท.]. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวตลาดหลัก 12 ประเทศ. กรุงเทพมหานคร.
[6] กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป = General psychology (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
[7] ธรัช อารีราษฏร์. (2559). รูปแบบการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[8] สมัชชา เจียรณัย. (2551). แนวทางการบริหารจัดการประเพณีแห่เทียนพรรษาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[9] เปรมจิต พรหมสาระเมธี. (2553). การพัฒนาศักยภาพแห่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[10] พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[11] ธัญญาศิริ ระวิวรรณ ลินจง โพชารี และ โอชัญญา บัวธรรม. (2557). “การมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว ภูหินลาดช่อฟ้า จังหวัดหนองบัวลำภู”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฉบับพิเศษ, 241-248.
[12] ศิคริษฐ์ คุณชมภู วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์. (2560). “การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR”. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1).
[13] ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
[14] Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). ConsumerBbehavior. (7th ed.). Upper Saddle River, N.J Prentice Hall.
[15] Kimberlee A. Gretebeck, et al. (2011). “Factors Predicting Physical Activity among Older Thais Living in Low Socioeconomic Urban Communities,” Pacific Rim Intenational Journal of Nursing Research, 15(1) January - March 2011.
[16] Best, John. W. (1997). Research in Education. (3nd. Ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.