การเรียนรู้รูป て ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย

ผู้แต่ง

  • เตวิช เสวตไอยาราม คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การผันรูป て, ชนิดของคำกริยา, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย, แบบทดสอบให้ผันคำกริยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการเรียนรู้รูป て ของผู้เรียนชาวไทยระดับต้น เพื่อวิเคราะห์ลำดับความยากง่ายในการผันคำกริยาให้เป็นรูป て ของผู้เรียนชาวไทยและอภิปรายสาเหตุที่ส่งผลนั้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับต้นจำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบให้ผันคำกริยาเป็นรูป て เนื้อหาประกอบด้วยคำกริยาทั้งหมด 48 คำ(คำกริยา 12 ชนิด ชนิดละ 4 คำ ) ผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมประมวลผลทางสถิติ Decision Tree พบว่า ผู้เรียนชาวไทยผันคำกริยาที่ลงท้ายด้วย – u และ – tsu ได้ง่ายที่สุด ขณะที่คำกริยาที่ลงท้ายด้วย – ru – iru และ – kuru เป็นคำกริยาที่ผันได้ยากที่สุด จากการที่คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นลงท้ายด้วยเสียง ru เป็นจำนวนมากทำให้เกิดความสับสน ผู้เรียนชาวไทยจึงได้สร้างกฎบางอย่างเพื่อจัดการกับความซับซ้อนนั้น เช่น การตัดเสียง “ru” ทิ้งแล้วเติมรูป って เข้าไปด้านท้าย หรือการนำสิ่งที่ได้เจอบ่อยๆในบทเรียนหรือการสนทนาจากครูผู้สอนมาประยุกต์ใช้เวลาผันเป็นรูป て

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02