เกียวโตในเอกสารของฮอลันดา: กรณีศึกษาจดหมายเหตุระยะการเดินทาง ของหมอแกมเฟอร์ในญี่ปุ่น ค.ศ.1691

ผู้แต่ง

  • พีรภัทร ห้าวเหิม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เกียวโต, ฮอลันดา, จดหมายเหตุระยะการเดินทาง, แกมเฟอร์, ญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของเมืองเกียวโตในทัศนะและการรับรู้ของหมอแกมเฟอร์ที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุระยะการเดินทาง ค.ศ.1691 จากการศึกษาพบว่า (1) จดหมายเหตุแกมเฟอร์ฯ นับเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์สำคัญอันสะท้อนให้เห็นแง่คิดและมุมมองที่ชาวต่างชาติมีความเข้าใจต่อประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะเกียวโตซึ่งมีสถานภาพความเป็นเมืองพิเศษมากกว่านครโอซาก้าและนครเอโดะ (2) จดหมายเหตุฯ แกมเฟอร์ให้ข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับผู้แต่งหนังสือชื่อ Arnoldus Montanus เรื่อง “Ambassades Mémorables De La Compagnie Des Indes Orientales Des Provinces Unies Vers Les Empereurs Du Japon” ซึ่งเขียนเนื้อหาและวาดภาพของเกียวโตเอาไว้ตามจินตนาการที่เกิดจากการศึกษาบันทึกของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอแลนด์ (VOC) โดยที่ตนเองไม่เคยเดินทางมาประเทศญี่ปุ่น (3) จดหมายเหตุฯ แกมเฟอร์ทำให้เข้าใจต่อบริบทสภาพของประเทศญี่ปุ่นและเมืองเกียวโตในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกันทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้รัฐบาลโชกุนจะมีนโยบายปิดประเทศแต่ก็เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติบางประเทศรับอภิสิทธิ์สำหรับการค้าขายกับญี่ปุ่น การนำเสนอเกี่ยวกับเมืองเกียวโตนี้จึงช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเกียวโตในฐานะเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันเกียวโตได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก การเผยแพร่ข้อมูลนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงบริบทสภาพของเกียวโตในช่วง 300 ปีก่อนว่านักเดินทางชาวตะวันตกรับรู้ความเป็นเกียวโตอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าใจสภาพของสังคมญี่ปุ่นช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 มากขึ้น โดยสรุปจดหมายเหตุระยะการเดินทางของหมอแกมเฟอร์นับเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ใช้วิธีการเขียนเชิงพรรณนาที่มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีความหลากหลายมิติเช่น การใช้ความรู้ทางแพทย์ศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วนศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ดังนั้นจดหมายเหตุระยะการเดินทางของหมอเเกมเฟอร์จึงเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการศึกษาประเทศญี่ปุ่นและสะท้อนความเป็นอยู่ของสังคมญี่ปุ่นในทัศนะและการรับรู้ของชาวต่างชาติที่มีคุณค่ายิ่ง

 

References

คริสต์โตเฟอร์ โกโต โจนส์. (2554). ญี่ปุ่นสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา. พลอยแสง เอกญาติ แปล. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิร์ล.
ดวงจันทร์ เจริญเมือง และคณะฯ. (2541). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การผังเมืองเกียวโตและนารา: บทเรียนสำหรับเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). เกียวโตใต้ ชะเงื้อมดอยสุเทพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
พิพาดา ยังเจริญ. (2546). จักรพรรดิ ขุนนาง นักรบ และพ่อค้าในสังคมญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรภัทร ห้าวเหิม. (2561). เกียวโต ประวัติศาสตร์พันปี. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
อัมพร สายสุวรรณ. (2545). ไทยในจดหมายเหตุแกมเฟอร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เอ็ดวิน โอ. ไรเชาเออร์. (2534). ญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. วุฒิชัย มูลศิลป์, สุภัทรา วรรณนิณ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Arnoldus Montanus. (1680) Ambassades Mémorables De La Compagnie Des Indes Orientales Des Provinces Unies Vers Les Empereurs Du Japon. Amsterdam: Jacob De Meurs.
Beatrice M. Bodart-Bailey and Derek Massarella. (1995). The Furthest Goal: Engelbert Kaempfers Encounter with Tokugawa Japan. London: Routledge.
Beatrice M. Bodart-Bailey. (1992). The Most Magnificent Monastery and Other Famous Sights: The Japanese Painting of Engellbert Kaempfer. Japan Review, 3: 25-44.
Engellbert Kaempfer, John Gasper Scheuchzer (1727). The History of Japan Vol 1. London: n.p.
Engellbert Kaempfer, John Gasper Scheuchzer. (1727). The History of Japan Vol 2. London: n.p.
Engellbert Kaempfer. (1999). Kaempfer’s Japan, Tokugawa Culture Observed. Beatrice M. Bodart- Bailey, Edited, Translated. Honolulu: University of Hawai’i Press.
Herbert E, Plustchow. (1986). Historical Kyoto. Tokyo: The Japan Times, Ltd., Second Printing.
Japanese Historical Maps. (2018). Japan Reyskaart. Retrieved from https://goo.gl/PBEkLq
Marius B. Jansen. (2002). Making of Modern Japan. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press., Third Printing
Matsuda Koichiro. (2016). Japan and the Pacific, 1540–1920, Threat and Opportunity. London: Routledge.
Matthew Stavros and Norika Kurioka. (2015). "Imperial Progress to the Muromachi Palace, 1381 A Study and Annotated Translation of Sakayuku Hana". Japan Review 28, 3–46.
Matthew Stavros. (2014). Kyoto an Urban History of Japan’s Premodern Capital. Honolulu: University of Hawai’i Press.
Max Meulendijks. (2014). Kaempfers Lessons from Japan – Using Tokugawa Regulation for Educating Europe. MaRBle Reasearch Papers, Maastricht University, Vol.6, pp. 135 - 153.
Michel, Wolfgang. (2018). Engelbert Kaempfer and Imamura Eisei. Retrieved from https://goo.gl/tYkacV
Michel, Wolfgang. "On Engelbert Kaempfer's "Ginkgo" (revised version)". Kyushu University. Archived from the original on 7 October 2011. Retrieved from 1 December 2018.
Michel, Wolfgang. "Glimpses of medicine and pharmaceutics in early Japanese-German intercourse," in International Medical Society of Japan (ed.): The Dawn of Modern Japanese Medicine and Pharmaceuticals – The 150th Anniversary Edition of Japan-German Exchange. Tokyo 2011, pp. 72– 94.
Nakai Nobuhiko and McClain, J.L. (1991). Commercial Change and Urban Growth in Early Modern Japan. In J.W. Hall et al (eds.), The Cambridge History of Japan. Vol.4, pp. 519-595. Cambridge: Cambridge University Press.
National Graduate Institute for Policy Studies. (2018). Edo Period, Pre-conditions for Industrialization. Retrieved from http://www.grips.ac.jp/teacher/oono/hp/lecture_J/lec02.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27