การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product: OTOP) ของไทย และนโยบายหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village One Product: OVOP) ของญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • วทัญญู ใจบริสุทธิ์

คำสำคัญ:

กระบวนนโยบาย, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP), หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบการก่อตัวเข้าสู่วาระนโยบาย การกำหนดนโยบาย ตลอดจนการนำนโยบายไปปฏิบัติของนโยบาย OTOP และนโยบาย OVOP ซึ่งผลของการศึกษาพบว่า

1) การเปรียบเทียบการเข้าสู่วาระนโยบาย (Agenda Setting) ผู้วิจัยได้ใช้ตัวแบบหลายกระแส (Multiple Streams Model) ในการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า นโยบาย OTOP ของไทย และนโยบาย OVOP มีระดับของผลกระทบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1997 เป็นปัญหาระดับประเทศ ในขณะที่ปัญหาความซบเซาของจังหวัดโออิตะเป็นปัญหาระดับจังหวัด ในส่วนของการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระแสนโยบาย (Policy Stream) พบว่า บรรดานโยบายภายในหม้อซุป (Primeval Soup) ในกรณีของไทย ได้รับการริเริ่มมาจากชนชั้นนำ ส่วนบรรดานโยบายของญี่ปุ่นเป็นการริเริ่มมาจากคนภายในชุมชน สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระแสการเมือง (Politic Stream) พบว่า นโยบายทั้งสองนโยบายต่างก็มีแรงผลักที่สำคัญ ซึ่งก็คือ ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 2001 ของพรรคไทยรักไทย ทำให้ทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ในปี ค.ศ. 1979 โมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ (Morihiko Hiramatsu) ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ (Oita) เช่นกัน กล่าวได้ว่ากระแสการเมืองเป็นกระแสที่สำคัญที่สุดในการผลักดันโยบายทั้งสองนโยบายเข้าสู่วาระนโยบาย

2) การเปรียบเทียบการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ด้วยตัวแบบสามเหลี่ยมเหล็ก (Iron Triangle Model) ผู้วิจัย พบว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยได้กลายมาเป็นความหวังของคนไทยในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ค.ศ. 1997 กล่าวได้ว่า พรรคไทยรักไทยของทักษิณ ชินวัตร ค่อนข้างจะมีอำนาจในการควบคุมสามเหลี่ยมเหล็กนโยบาย ทำให้สามารถกำหนดนโยบาย OTOP ให้เป็นนโยบายสาธารณะได้อย่างราบรื่น ด้วยโครงสร้าง หน่วยงาน และการบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ OVOP เกิดมาจากการผลักดันจากผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว ซึ่งก็คือ นายฮิรามัตสึ โดยไม่ได้มีบทบาทของสามเหลี่ยมเหล็กนโยบายเหมือนดังเช่นในกรณีของนโยบาย OTOP

3) การเปรียบเทียบการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ด้วยตัวแบบจากบนลงล่าง (Top-Down Approach) และแบบล่างขึ้นบน (Bottom-Up Approach) ตลอดจนหลักการ 3 ประการของ OVOP (Principles of OVOP Movement) ผู้วิจัยพบว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ของ OTOP มีลักษณะเป็นไปตามตัวแบบจากบนลงล่าง (Top-Down) โดยภาครัฐเป็นผู้คอยชี้นำ ริเริ่ม ควบคุม และพัฒนานโยบายและโครงการ OTOP เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่การนำนโยบายไปปฏิบัติของ OVOP มีลักษณะแบบล่างขึ้นบน (Bottom-Up) ภาคประชาชนมีบทบาทเป็นตัวแสดงหลัก ในส่วนของการนำหลักการทั้ง 3 ประการของกระบวนการ OVOP มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global) ในกรณีของ OTOP ยังขาดความเป็นสากล ขาดซึ่งเอกลักษณ์ ในขณะที่กระบวนการ OVOP เป็นการพัฒนาสินค้าจากทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีในชุมชนในท้องถิ่น ทำให้เกิดสินค้าที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น ในส่วนของการพึ่งพาตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance Creativity) นโยบาย OTOP มีตัวแสดงหลักเป็นภาครัฐ รัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบาย OTOP ในขณะที่นโยบาย OVOP มีตัวแสดงหลักเป็นภาคประชาชน สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) นโยบาย OTOP เป็นนโยบายมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาตัวสินค้า ทำให้ละเลยต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในขณะที่นโยบาย OVOP มีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2544). แนวทางการดำเนินงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
จุน คุวาโนะ. มหาวิทยาลัย Aoyama Kakuin ประเทศญี่ปุ่น. (13 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.
ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์. รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่าย International OVOP Policy Association (IOPA). (4 ธันวาคม 2560). สัมภาษณ์.
ณรงค์ศักดิ์ พิชญพิศุทธิ์. (2551). บทบาทภาครัฐ และภาคสังคมใน “การฟื้นฟูท้องถิ่น” ของญี่ปุ่น: กรณี
OVOP (One Village One Product) ของ Oita (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไดซากุ ยานาจิฮารา. อาจารย์โรงเรียน Hanamaru และลูกชาวนาญี่ปุ่น. (14 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2544). ทฤษฎีพึ่งพาและเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย. กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
ทวีป บุตรโพธิ์. รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (15 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
นิสากร จึงเจริญธรรม. รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (17 มีนาคม 2560). สัมภาษณ์.
นันธมน ธีระกุล อารี วิบูลย์พงศ์ และทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. (2548). กระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนเกษตร
สู่ OVOP และบทเรียนสำหรับ OTOP ไทย. เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2557, จากเว็บไซต์
http://www.mcc.cmu.ac.th/research/mccconference48/papers/MCC2005_12.pdf.
ปัณฑิตา ตัณฑะวัฒนะ. นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (30 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
มนูญ สอนเกิด. ข้าราชการบำนาญ กระทรวงมหาดไทย. (9 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.
มัตสึโมโตะ ซอน. รองศาสตราจารย์ คณะ Policy Science มหาวิทยาลัย Kyoto Prefecture ประเทศญี่ปุ่น. (28 พฤษภาคม 2559). สัมภาษณ์.
มาซารุ ซูซุกิ. อดีตผู้เชี่ยวชาญ Japan International Cooperation Agency (JICA). (30 พฤษภาคม 2559). สัมภาษณ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (n.d.). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558, จาก
เว็บไซต์ http://www.stou.ac.th/.
ยุพิน คล้ายมนต์. นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. และเครือข่าย International OVOP Policy Association (IOPA). (19 ธันวาคม 2557). สัมภาษณ์.
รุศมา มฤบดี. อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (28 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.
วรางคณา ก่อเกียรติพิทักษ์. สำนักงานสภาความั่นคงแห่งชาติ และเครือข่าย International OVOP Policy Association (IOPA). (8 สิงหาคม 2559). สัมภาษณ์.
สมชาย ชคตระการ. รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตนายกสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์. (14 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.
สยุมพร ลิ่มไทย. อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย. (22 สิงหาคม 2559). สัมภาษณ์.
สุรศักดิ์ อักษรกุล. ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานแผนและข้อมูล กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (24 มกราคม 2560). สัมภาษณ์.
หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง. รองศาสตราจารย์ และรองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (30 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
ไอศูรย์ เรืองรัตนอัมพร. นักวิชาการอิสระ และเครือข่าย International OVOP Policy Association (IOPA). (1 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
ฮิโรชิ มุรายามะ. ศาสตราจารย์ และอดีตคณบดีคณะ Policy Science มหาวิทยาลัย Ritsumeikan ประเทศญี่ปุ่น และประธาน International OVOP Policy Association (IOPA). (2 ธันวาคม 2558). สัมภาษณ์.
OTOP 5 Star. เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557, จากเว็บไซต์ http://www.otop5star.com/.

Denpaiboon, C. & Amatasawatdee, K. (2012). Similarity and Difference of One Village One
Product (OVOP) for Rural Development Strategy in Japan and Thailand. Japanese
Studies Journal. 2, 52-62.
Elmore, R. (1978). Organizational Models of Social Program Implementation. New York:
Wiley.
Erfurt, P. (2011). An Assessment of the Role of Natural Hot and Mineral Spring in Health, Wellness and Recreational Tourism. Thesis (PhD) James Cook University, Carins Queenlands.
Haraguchi, N. (2008). The One-Village-One-Product (OVOP) Movement: What it is, how it has
been Replicated, and Recommendations for a UNIDO OVOP-Type Project. Vienna:
UNIDO.
Hiramatsu, M. (2008). One Village, One Product Spreading throughout the World. Oita Japan:
Office: Oita OVOP International Exchange Promotion Committee.
Hood, C. (1976). The Limits of Administration. London: Wiley.
Fujioka, R. (2011). Thailand’s OTOP Project: The Light and Shadow of Grass-roots Policy. In
Igusa, K. (Eds.), The OVOP Movement and Local Development in Asia-How to Nurture
Rural Entrepreneurs in the Developing World. Oita: Ritsumeikan Asia Pacific University.
Kingdon, J. (2003). Agendas, Alternatives, and Public Policies (2nd ed.). New York:
Longman.
Kurokawa, K. (2009). Effectiveness and Limitations of the One Village One Product (OVOP)
Approach as a Government-led Development Policy: Evidence from Thai OTOP Studies
in Regional Science. The Journal of the Japan Section of the Regional Science
Association International, 39(4), 809-821.
Kurokawa, K., Tembo, F. & te Velde, D. W. (2010). Challenges for the OVOP Movement in Sub-
Saharan Africa: Insights from Malawi, Japan and Thailand. London: Overseas
Development Institute.
Kyungmi, S. (2012). A Comparative Analysis of the OVOP/OTOP Administration in Japan and
Thailand. In Murayama, H. (Eds.), Significance of the Regional One-Product Policy- How to use the OVOP/OTOP Movements. Pathumthani: Thammasat Printing House.
Matsui, K. (2011). Regional Development in Japan and the One Village One Product Movement-
a Proloque. In Igusa, K. (Eds.), The OVOP Movement and Local Development in Asia-
How to Nurture Rural Entrepreneurs in the Developing World. Oita: Ritsumeikan Asia
Pacific University.
Matsui, K. (2012). Locality and Dynamics in OVOP Promotion: Oita’s Experience for Regional
Development in Developing Countries. In Murayama, H. (Eds.), Significance of the
Regional One-Product Policy- How to use the OVOP/OTOP Movements. Pathumthani:
Thammasat Printing House.
McConnell, G. (1966). Private Power American Democracy. New York: Knopf.
Natsuda, K., Igusa, K., Wiboonpongse, A. & Thoburn, J. (2012). One Village One Product – Rural Development Strategy in Asia: The Case of OTOP in Thailand. Canadian Journal of Development Studies, 33(3), 369-385.
Nobuyoshi, N. & Lutful, K. (2005). One Village One Product Movement: Success Story of Rural
Development in Japan and Learning Points for Bangladesh. The Economic science,
52(4), 71-92.
Oita OVOP International Exchange Promotion Committee. (2014 March, 19). One Village One
Product Movement. Retrieved from http://www.ovop.jp/en/.
Oita Prefecture. (2016). Oita Prefecture 2016. Oita: Oita Prefecture.
Schumann, F. R. (2016). A Study of One Village One Product (OVOP) and Workforce
Development: Lessons for Engaging Rural Communities around the World. Guam:
University of Guam.
Takai, K. (2012). Endogenous Regional Development. Tokyo: UNCRD.
Tanwattana, P., & Korkietpitak, W. (2012). The Background to Understanding One Tambon One
Product in Thailand. In Murayama, H. (Eds.), Significance of the Regional One-Product
Policy- How to Use the OVOP/OTOP Movements. Pathumthani: Thammasat Printing
House.
Yamagami, S. & Fujimoto, T. (2012). The Prototype for the One Village One Product Movement:
Community Development Intaitives in Oyama Town. In Igusa, K. (Eds.), The OVOP
Movement and Local Development in Asia-How to Nurture Rural Entrepreneurs in the
Developing World. Oita: Ritsumeikan Asia Pacific University.
Yamazaki, J. (2010). A Comparative Analysis of One Village One Product (OVOP) and its
Replicability in International Development (Master Thesis). Institute of Social Studies,
The Hague.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27