การบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษาของบริษัทผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการด้านเอกสารจากประเทศญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • อรุณวดี กิตติรัตนาภรณ์

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรบุคคล, Abenomics, Thainization, การบริหารการจัดการแบบไทย

บทคัดย่อ

นายกรัฐมนตรีคนที่ 90 ของญี่ปุ่น ได้มีการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ ปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นได้ช่วยกันผลักดันนโยบายดังกล่าวกันอย่างจริงจัง ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงสนใจที่จะศึกษาผลสะท้อนของความเป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่อันเกิดจากนโยบายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีความสัมพันธ์กับ “การบริหารการจัดการแบบไทย” (Thainization) ของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย จากกรณีศึกษาของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ทำธุรกิจผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการด้านเอกสาร พบว่าการบริหารธุรกิจโดยภาพรวมและการบริหารทรัพยากรบุคคลยังคงดำเนินตามลักษณะธุรกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมของบริษัทแม่ในญี่ปุ่นโดยนโยบายเศรษฐกิจของญี่ปุ่น “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) บางเรื่อง เช่น ความพยายามผลักดันผู้หญิงเข้าไปในตลาดผู้หญิงอาจไม่ส่งผลโดยตรงต่อบริษัทในประเทศไทยมากนัก เพราะสัดส่วนผู้หญิงทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงานมีจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ในบริษัทในต่างประเทศ เช่น เกาหลี มีการสนับสนุนในเรื่องนี้มากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความเป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่มีผลนโยบายการบริหารในบริษัทแม่ในญี่ปุ่น แต่จะส่งผลต่อบริษัทลูกในแต่ละประเทศมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่บริบทของการทำธุรกิจในประเทศนั้นๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-30

ฉบับ

บท

บทความรับเชิญ