การสร้างส่วนประสมการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม

Main Article Content

จุติพร อยู่คงธรรม
พหล ศักดิ์คะทัศน์
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา
นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย
ปภพ จี้รัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ผู้ปลูกสตรอเบอรี่ 2) ศึกษาการสร้างส่วนประสมการตลาดสตรอเบอรี่ของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างส่วนประสมการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการสร้างส่วนประสมการตลาดสตรอเบอรี่ของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 261 คน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคว์สแควร์
     จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี สำเร็จ การศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา อยู่ในสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนตํ่ากว่า 5 คน มีจำนวนแรงงานด้านการเกษตรต่ำกว่า 5 คน มีรายได้ภาคการเกษตรอยู่ระหว่าง 150,001-200,000 บาทต่อปี มีพื้นที่ในการทำการเกษตรอยู่ระหว่าง 6-10 ไร่ ส่วนมากไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสตรอเบอรี่ และไม่เคยเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับสตรอเบอรี่เลย และเกษตรกรมีการสร้างส่วนประสมการตลาดในด้านสถานที่ ด้านผลผลิต และผลิตภัณฑ ์ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการขายอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการสร้างส่วนประสมทางการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติในด้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อายุ (Sig.=0.010) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ได้แก่ รายได้ ภาคการเกษตร (Sig.=0.043) และด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ รายได้ภาคการเกษตร (Sig.=0.012) และการเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับสตรอเบอรี่ (Sig.=0.011) ส่วนด้านราคาไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
     สำหรับปัญหาที่สำคัญในการสร้างส่วนประสมทางการตลาดคือ 1) การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช 2) การขาดข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายหรือตลาดในการรับซื้อสตรอเบอรี่ 3) การขาดความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการควบคุณภาพผลผลิต 4) การลดลงของราคาผลสตรอเบอรี่สด จึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันทางการศึกษา และหน่วยงานพัฒนาภาคเอกชน ได้แก่ 1) ควรมีการสร้างความรู้ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 2) ควรมีการ ส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปทรงตรายี่ห้อที่สร้างความสนใจและดึงดูด ผู้บริโภค 3) ควรสร้างความรู้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือการโฆษณาให้เข้าถึงผู้บริโภค 4) ควรมีการ สร้างจุดจำหน่ายสินค้าของชุมชน หรือสถานที่จำหน่ายที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้สะดวกและง่าย และ 5) ควรมี การให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวและระหว่างการขนส่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2561. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. สามลดา, กรุงเทพฯ.

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. 2558. การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนที่สูงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 299-
307.

นํ้าฝน เจนสมบูรณ์. 2561. การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวพำนักระยะยาวบ้านแม่แมะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 12(ฉบับพิเศษ): 179-190.

ภัทราพร เกษสังข์. 2559. การวิจัยปฏิบัติการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนตรี แสนสุข. 2559. สตรอเบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน 80 กำลังนิยมทั้งปลูกและบริโภค. นานาสำนักพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-72.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร เบญญาภา กันทะวงศ์วาร รุจิรา สุขมณี และชัชวิน วรปรีชา. 2556. แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด โครงการหลวงหนองหอย เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์คาโนโมเดล. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 7(1): 17-37.

วนัสพร อยูเ่ ย็น และประพันธ์ ธรรมไชย. 2557. การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลไม้สดของผู้ค้าปลีกจากตลาดค้าส่งเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 10(2): 67-79.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

หิรัณย์ กุลเรืองทรัพย์. 2559. ฝ่าวิกฤติยุคเศรษฐกิจผันผวน: ด้วยแนวทางการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ มุ่งสู่การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรยุคใหม่. วารสารเศรษฐกิจการเกษตร 62(719): 5.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. Harper and Row Publication, New York.