อิทธิพลของนํ้ามะพร้าวและ BA ต่อการชักนำให้เกิดหน่อกล้วยนํ้าว้า พันธุ์มะลิอ่องในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

พิกุล เดชพะละ
ฐิติพร พิทยาวุธวินิจ
วิบูล เป็นสุข

บทคัดย่อ

     ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ อาทิเช่น สารอาหาร ชนิด และ ความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของนํ้ามะพร้าว และ benzyladenine (BA) ต่อการชักนำให้เกิดหน่อกล้วยนํ้าว้าพันธุ์มะลิอ่องในสภาพปลอดเชื้อ ทำโดย การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องบนอาหารกึ่งแข็งสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติมนํ้าตาล 30 ก./ล. ผงวุ้น 8 ก./ล. ปรับ pH ที่ 5.7 เติมนํ้ามะพร้าว 0 และ 20% ร่วมกับ BA ที่ความเข้มข้น 0, 3, 4 และ 5 มก./ล. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบ 2×4 factorial in CRD, 4 ซํ้า ผลการทดลองพบว่า การเติมนํ้ามะพร้าวไม่ได้ช่วยส่งเสริมการชักนำให้เกิดหน่อกล้วยในการ ทดลองนี้ ในส่วนของความเข้มข้นของ BA พบว่าการเติม BA ในอาหารสังเคราะห์ช่วยชักนำให้เกิด หน่อกล้วย ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับการไม่เติม BA ในทุกสัปดาห์ที่ทำการเก็บข้อมูล งานทดลองนี้ พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของนํ้ามะพร้าวและ BA ที่มีต่อการให้หน่อกล้วยในสัปดาห์ที่ 11 และ 12 โดยพบว่าในอาหารที่ไม่มีการเติมนํ้ามะพร้าว ร่วมกับการเติม BA ที่ความเข้มข้น 4 มก./ล. ให้จำนวนหน่อ สูงที่สุดเท่ากับ 3.5 และ 5.0 หน่อ/ชิ้นส่วน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. เอกสารคำแนะนำที่ 4/2559 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

นิดาพร สุธัญญรัตน์ สุพรรณี อะโอกิ และขวัญเดือน รัตนา. 2016. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการวิเคราะห์ความคงตัวของระดับพลอยด์ดีของกล้วยนํ้าว้ามะลิอ่อง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย
สวนดุสิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(3): 1-14.

นิพิจ พินิจผล และพีระศักดิ์ ฉายประสาท. 2551. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยนํ้าว้ามะลิอ่อง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(ฉบับพิเศษ) (3): 116-119.

พัชนันท์ เย็นใส และพจมาลย์ สุรนิลพงศ์. 2557. ผลของ benzyladenine และ thidiazuron ต่อการชักนำยอดรวมของกล้วยช้างในสภาพปลอดเชื้อ. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ)(3): 157-161.

รังสิมา อัมพวัน ทิพย์สุดา ปุกมณี พินธรา สำราญ สกุล เดือนสว่าง ดวงบาล และสายบัว เต๋จ๊ะ. 2560. การผลิตต้นกล้ากล้วยหอมทองเชิงอุตสาหกรรม. ฝ่ายปรับปรุงและพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์, สำ นักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ราฮีมา วาแมดีซา และสะมะแอ ดือราแม. 2554. การเพิ่มจำนวนกล้วยหินโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 3(3): 47-59.

วัชรินทร์ รัตนพันธุ์ และนุจรินทร์ หญีตจันทร์. 2559. ผลของนํ้ามะพร้าวและสาร BA ต่อการชักนำหน่อของกล้วยเล็บมือนาง 4 สายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(ฉบับพิเศษ I): 65-69.

อรพิน เสละคร. 2559. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยนํ้าว้ามะลิอ่อง. จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 6(3): 9-10.

อรุณี ม่วงแก้วงาม. 2557. การขยายพันธุ์กล้วยหิน (Musa sapientum Lin.) โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลายยอด. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 1(3): 24-27.

Gitonga, N. M., O. Ombori, K.S. D. Murithi and M. Ngugi. 2010. Low technology tissue culture materials for initiation and multiplication of banana plants. African Crop Science Journal 18(4): 243-251.

Prabhuling, G., H. Rashmi and A. G. Babu. 2017. Protocol for tissue culture propagation of banana cv. Rajapuri Bale (AAB). International Journal of Science and Nature 8(4): 892-897.