การประกอบสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยทำงานตอนต้นในภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์...ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ*

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, การประกอบสร้าง, รูปแบบการดำเนินชีวิต, วัยทำงานตอนต้น

บทคัดย่อ

                  บทความนี้สรุปจากการศึกษาเรื่อง “การประกอบสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยทำงานตอนต้นในภาพยนตร์: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์... ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) ภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์...ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2558) เพื่อศึกษาถึงการประกอบสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยทำงานตอนต้นในภาพยนตร์ว่าถูกให้ความหมายอย่างไร รวมถึงสำรวจตรวจหาอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการประกอบสร้างนั้น ด้วยการศึกษาจากกรอบแนวทฤษฎี ที่สำคัญต่างๆ อันได้แก่ (1) แนวคิดสัญวิทยา (2) แนวคิดการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคม (3) แนวคิดเจนเนอเรชั่น (4) แนวคิดวัยทำงานตอนต้น (5) แนวคิดรูปแบบการดำเนินชีวิต (6) แนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ และ (7) ทฤษฎีประพันธกร เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบท 
                 ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์...ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2558) ได้มีการปรุงแต่งและสร้างความหมายให้กับรูปแบบการดำเนินชีวิต (ตัวละคร) วัยทำงานตอนต้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                 (1) วิถีชีวิตที่อุทิศเพื่องาน: การใช้ชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหน้าที่การทำงานเป็นที่ตั้ง
                 (2) วิถีชีวิตที่กดดัน: ความเครียดจากสภาพการทำงานที่เร่งรีบ และการแข่งขันสูง
                 (3) วิถีแห่งการเอาชนะและความพ่ายแพ้: ความพยายามที่จะก้าวพ้นขีดจำกัดทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจเพื่อความสำเร็จในการงาน และการสมยอมการถูกเอาเปรียบในการทำงาน
                 (4) วิถีแห่งความไม่สมดุล: ความล้มเหลวในการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
                 (5) วิถีชีวิตที่โดดเดี่ยว: การขาดหายไปของความสัมพันธ์ในครอบครัว และความเพิกเฉยต่อบริบทต่างๆ ในสังคม
                 (6) วิถีแห่งอดีตที่โหยหา: การหวนระลึกถึงอดีตวัยเยาว์ที่มีความสุขเพื่อหลีกหนีปัจจุบันที่โหดร้าย
                 (7) วิถีแห่งการสร้างสรรค์: ความต้องการในการพยายามคิดทำสิ่งใหม่ ที่อาจดูราวกับการท้าทายประเพณีวัฒนธรรมเดิม
                 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังทำให้ค้นพบว่า อิทธิพลที่สำคัญยิ่งในการประกอบสร้างความหมายในภาพยนตร์คือ ผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ได้นำทั้งทัศนคติและประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานมาปรุงแต่งและประกอบสร้างลงในภาพยนตร์อย่างแยบคายจนกลายเป็นความจริงทางสังคมชุดใหม่ที่เกี่ยวกับคนวัยทำงานตอนต้น

References

กรัณย์ รังษิโย (2554), การศึกษาพฤติกรรมการทำงานของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายที่ส่งผลต่อการทำงานในองค์การ, วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ (2548), “หน่วยที่ 12 ทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา/สาร และความหมาย”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา แก้วเทพ (2548), “หน่วยที่ 12 ทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา/สาร และความหมาย”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย (2535), บทบาทในการบันทึกสังคมของภาพยนตร์ไทย, โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ (2560), แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2560 (แบบ 56-1), เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์.

สมสุข หินวิมาน (2548), “หน่วยที่ 13 ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Hall, S. (1960), “Encoding/decoding”, in Culture, Media, Language, London: Unwin Hyman.Osborne, R. and Brew, A. (2014), Film Theory for Beginner, London: Zidane Press.

สื่อออนไลน์
ขัตติยา ทองทา (ม.ป.ป.), ประวัติพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2561 จากสถาบันพระปกเกล้า: https://wiki.kpi.ac.th/index.php

ทีมเศรษฐกิจ ไทยรัฐ (2558), สแกนเจเนอเรชั่นคนไทย พลังสำคัญผลักดันเศรษฐกิจดิจิตอล, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2561 จาก ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/475518

ธรรมทัช ทองอร่าม (2560), ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2561 จาก ฐานเศรษฐกิจ: https://www.thansettakij.com/ content/234315

ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม (2559), “ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค” เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ A-I-O, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2561 จาก Marketeer: https://marketeer.co.th/archives/68349

ศรีประภา ชัยสินธพ (ม.ป.ป.), สภาพจิตใจของวัยผู้ใหญ่, สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2561 จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06272014-1009

สุดทีวัล สุขใส (มีนาคม 2559), ก้าวใหม่ หนังไทย : อนาคตอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์และภาพยนตร์ไทย ต่อจากนี้, สืบค้นเมื่อพฤษภาคม 2561 จาก ข่าวบันเทิง RYT9: https://www.ryt9.com/s/iqry/2384321

ไอรดา รื่นภิรมย์ใจ (2560), กรอดูหนังชีวิตของ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับและนักเขียนบทที่ ตั้งเป้าว่าจะเดินตามฝันมาเกือบ 20 ปีแล้ว, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2561 จาก a day online: https://www.adaymagazine.com/interviews/youmade-5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-11-2018