การสำรวจความต้องการคำบรรยายแทนเสียงของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คำบรรยายแทนเสียง, การวิจัยเชิงสำรวจ, การรับชมโทรทัศน์

บทคัดย่อ

                   การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ในลักษณะรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยทำการสำรวจครั้งเดียว (one-shot case study) ใช้แบบสอบถาม (questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และให้กลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง (face-to-face questionnaires) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (one-way Anova) และการทดสอบค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน (independent t-test) และใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)
                   ผลการวิจัยพบว่า เพศชายและหญิงที่มีอายุ รายได้ และมีอาชีพที่ แตกต่างกัน มีความต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงเหมือนกัน และผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่มีสถานภาพสมรสที่แตกต่างกันก็มีความต้องการ รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงเหมือนกัน ในขณะที่ผู้ชมที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมีความต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มี คำบรรยายแทนเสียงมากกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่าระดับปริญญาตรี และคนพิการทางการได้ยินมีความต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงอยู่ในระดับมาก ในขณะที่คนปกติมีความต้องการคำบรรยายแทนเสียงมากที่สุด ซึ่งผู้ชมที่มีความต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงจะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกถึงความจำเป็นของคำบรรยายแทนเสียงในรายการโทรทัศน์ด้วย
                  รายการโทรทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงเป็นการคำนึงถึงการให้บริการ เพื่อให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ได้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และฝ่ายกำกับดูแล รวมถึงองค์กรต่างๆ ควรเข้า มาสนับสนุนและทำให้เกิดการเข้าถึง “สื่อโทรทัศน์” โดยคนทุกกลุ่ม การมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการเข้าถึงสื่อของคนทั้งมวล (equality of media accessibility) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและน่าที่จะส่งเสริมต่อไป

References

จรัลวิไล จรูญโรจน์ (2548), ภาษาศาสตร์เบื้องต้น, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555), เอกสารอัดสำเนา.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2559, เอกสารอัดสำเนา.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560, เอกสารอัดสำเนา.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เรื่อง แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559), เอกสารอัดสำเนา.

มลิวัลย์ ธรรมแสง และคณะ (2559), คู่มือการจัดทำคำบรรยายแทนเสียง (Closed Captions), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ฤทัยพร ม่วงเทศ และคณะ (2557), การพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทข่าวสำหรับ ผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อความหมาย, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร และคณะ (2559), ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารสุขภาพ, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557), การสำรวจความพิการ พ.ศ. 2555, กรุงเทพฯ: เทกซ์ แอนด์ เจอร์นอลพับลิเคชั่น.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544), สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

ภาษาอังกฤษ
Heinich, R. et al. (1982), Instructional Media, and the New Technology, NJ: John Wiley & Sons.

สื่อออนไลน์
“คำบรรยายแทนเสียง” (2557), รู้จักสิทธิรู้จักสื่อ วารสารสำหรับผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์, สำนักงาน กสทช., 2 (12), สืบค้นเมื่อง 18 ธันวาคม 2560 จาก http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/f4f6dce2f3a0f9dada0c2b5b66452017/713638ae5e39c9a133cf102cf8f0e0fb.pdf

ราษฎร์ บุญญา, “ภาษามือ: ภาษาของคนหูหนวก”, วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 4 (1), สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2560 จาก http://www.rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.4/v.4-1-005.pdf

McCall, G. and Carmen, C., “Same-Language-Subtitling (SLS): Using Subtitled Music Video for Reading Growth”, retrieved 12 April 2018 from https://www.same-language-subtitling.com/paper-sls.html

Morales, J., “Video Captions Improve Comprehension, Professor Finds”, retrieved 12 April 2018 from https://news.sfsu.edu/video-captions-improve-comprehension-professor-find

รายการโทรทัศน์
แมกาซีนข่าว, อมรินทร์ทีวี, 15 เมษายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019