บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน, ลำปาง

บทคัดย่อ

                  บทความเรื่อง “บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางในการส่งเสริม การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” เป็นผลมาจากการศึกษาในหัวข้อเดียวกัน มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ ฉบับต่างๆ ของลำปาง ว่ามีการนำเสนอเป็นอย่างไร การศึกษาในครั้งนี้เป็นการ ศึกษาเชิงปริมาณ และใช้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ และการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
                  วิธีการศึกษาคือ ศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชั้นนำ 4 ชื่อฉบับในจังหวัด ลำปาง ได้แก่ ฅนเมืองเหนือ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) แมงมุม (ราย สัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) ลานนาโพสต์ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และอาชญากรรม) และ ลำปางนิวส์ (รายปักษ์ เน้นข่าว อาชญากรรม) ออกจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2561 รวม 6 เดือน ทั้งนี้จะพิจารณาข่าว บทความ และภาพข่าวที่ปรากฏในทุกหน้า ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว ในปริมาณเท่าใด รูปแบบใด และมีเนื้อหาประเภทใด โดยมีหน่วย เป็นชิ้นและตารางนิ้ว
                  การศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางนำเสนอเนื้อหาการท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยนำเสนอในรูปแบบ “บทความ” มาก ที่สุด ตามด้วย “ภาพ” และ “ข่าว” น้อยที่สุด รวมทั้ง นำเสนอเนื้อหาประเภท ที่ 1 (ข้อมูลทั่วไป) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.68 ตามด้วยเนื้อหาประเภทที่ 5 (การจัดการท่องเที่ยวจากภาครัฐ) คิดเป็นร้อยละ 16.78 เนื้อหาประเภทที่ 2 (ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว) ร้อยละ 16.49 เนื้อหาประเภทที่ 6 (การจัดการ ท่องเที่ยวจากภาคประชาชน) ร้อยละ 4.24 และเนื้อหาประเภทที่ 4 (ผลกระทบ จากการท่องเที่ยว) ร้อยละ 2.81 โดยไม่ปรากฏเนื้อหาประเภทที่ 3 (ข้อดีจาก การท่องเที่ยว)
                  หนังสือพิมพ์ ลานนาโพสต์ มีพื้นที่การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวเปรียบเทียบกับเนื้อหาอื่นๆ มากที่สุด มีพื้นที่นำเสนอในรูปแบบบทความ มากที่สุด มีพื้นที่การนำเสนอที่หน้า 1 มากที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบาย ของ ลานนาโพสต์ ที่ไม่ได้เน้นข่าวอาชญากรรมอย่างเดียวเหมือนหนังสือพิมพ์ ชื่อฉบับอื่นๆ
                  ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ สื่อท้องถิ่นควรนำเสนอเนื้อหาการท่องเที่ยว ประเภทต่างๆ ให้ครบถ้วนและในปริมาณที่สมดุลกัน เพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยว ของลำปางมีความยั่งยืน

References

กองวิชาการฝึกอบรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ม.ป.ป.), อุตสาหกรรมท่องเที่ยว, ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2544), แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์ (2558), “ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญและผลกระทบต่อประเทศไทย”, วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 6(4): 38-50.

ณรงค์ สมพงษ์ (2543), สื่อสารมวลชนเพื่องานส่งเสริม, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดนัย บวรเกียรติกุล (2549), ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพจากการท่องเที่ยวและนันทนาการ, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มาลี บุญศิริพันธ์ (2556), วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจน์ โกมลบุตร (2551), สถานการณ์ในทางวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง, กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2555), “ความท้าทายของการพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชิงคุณภาพ”, วารสารศาสตร์, 5(1) มกราคม-เมษายน: 7-33.

________. (2556), การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจน์ โกมลบุตร และคณะ (2560ก), “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางกับการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน”, วารสารศาสตร์, 10(2) พฤษภาคม-สิงหาคม: 107-137.

________. (2560ข), “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางกับบทบาทการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม”, วารสารศาสตร์, 10(3) กันยายน-ธันวาคม: 189-227.

________. (2562), “การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง”, วารสารศาสตร์, 12(1) มกราคม-เมษายน: 9-46.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ (2557), ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริชัย ศิริกายะ และกาญจนา แก้วเทพ (2531), ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล (2560), “ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด”, วารสารธรรมศาสตร์, 36(1):66-95.

สุนิสา ฉันท์รัตนโยธิน (2546), ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านดอยปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุประภา สมนักพงษ์ (2551), การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรินทร์ นันทไพฑูรย์ (2556), ทุนทางสังคมกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: กรณีศึกษาชุมชนบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Bruner, E. (1996), “Tourism in Ghana”, American Anthropologist, 98(2): 209-305.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2561), สถิติด้านการท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2561, สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=509&filename=index.

กันตภณ แก้วสง่า และนิศาชล จานงศรี (2558), การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (งานวิจัยอิสระ), สืบค้น จาก https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:aqrUBJgIjeoJ:ht tps://tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/download/45142/37356+&cd=1&hl=en& ct=clnk&gl=th.

ธีระ อินทรเรือง (2559), เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การวางแผนพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, สืบค้นจาก http://www.elfhs.ssru.ac.th/threera_in/pluginfile.php/73/block_html/content/เอกสารประกอบการสอน%20การวางแผนพัฒนาและการจัดการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน%20ธีระ.docx.

Amazing ไทยเท่ (2561), “ททท. เปิดแคมเปญ AMAZING THAILAND GO LOCAL เร่งกระแสท่องเที่ยว 55 เมืองรอง หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี”, สืบค้นจาก https://thai. tourismthailand.org/ข่าวอัพเดท/รายละเอียดข่าว/ททท-เปิดแคมเปญ-Amazing-Thailand-Go-Local-เร่งกระแสท่องเที่ยว-55-เมืองรอง-หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี--2833.

Patcharin Jungprawate (2559), ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาตลาดคลองสวนร้อยปี อำเภอบางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ (งานวิจัยอิสระ), สืบค้นจาก https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:nfgIEeqpWxcJ:

ฅนเมืองเหนือ, มกราคม-มิถุนายน 2561

แมงมุม, มกราคม-มิถุนายน 2561

ลานนาโพสต์, มกราคม-มิถุนายน 2561

ลำปางนิวส์, มกราคม-มิถุนายน 2561

ชาตรี ธาไชยวงศ์, สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน 2561.

บัณฑิต ภักดีวงศ์, สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน 2561.

ปาลิตา คำปันนา, สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2019