ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”

 คุณลักษณะของบทความ

  • เป็นบทความที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่
  1. 1. บทความวิเคราะห์วิจัย (Research Article)
  2. 2. เอกสารกรณีศึกษา (Case Material)
  3. 3. บทความสำรวจวิชา (Survey Article)
  4. 4. บทความวิจารณ์ (Review Article)
  5. 5. บทความทางวิชาการ (Theoretical Article)
  6. 6. รายงานสำรวจ (Survey Report)

ทั้งนี้ ไม่รวมงานวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความ บทความประเภทงานแปล และเอกสารประกอบคำบรรยาย

  • ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักพิมพ์อื่น
  • หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน
  • ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ
  • ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกตามสาขาวิชาหรือประเด็นเนื้อหาที่อยู่ในบทความนั้นๆ และหากเป็นบทความจากผู้เขียนภายในมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงาน จำนวน 2 คนและไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน โดยชื่อของผู้เขียนและผู้ประเมินจะเป็นไปในลักษณะปกปิด หรือ double blinded

 

การเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

            การอ้างอิงในบทความ กรณีผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหาบทความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนของเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่งที่อ้างอิง (ถ้าเป็นคนไทยระบุทั้งชื่อและนามสกุล ส่วนต่างชาติใช้ระบุเพียงชื่อสกุลเท่านั้น) พร้อมปีที่พิมพ์เอกสาร และอ้างอิงไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และควรระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงไว้ด้วย กรณีที่อ้างมาแบบคำต่อคำ ต้องระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงทุกครั้ง

            การอ้างอิงท้ายบทความ หากมีการอ้างอิงในบทความ ให้จัดทำรายการเอกสารอ้างอิงเป็นบรรณานุกรม (bibliography) ท้ายเรื่องไว้ด้วย โดยรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนอ้างอิงในบทความในการเขียนบทความให้จัดเรียงรายการตามลำดับตัวอักษรผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychology Association) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์), ชื่อเรื่อง, ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี), สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

กิติมา สุรสนธิ (2548), ความรู้ทางการสื่อสาร, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน             มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช และคณะ (2539), การรายงานข่าวชั้นสูง, กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร (2537), คำ: ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ:       สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McQuail, D. (2005), McQuail’s Mass Communication Theory, 5th ed., London: Sage.

Sharrock, W. et al. (2003), Understanding Modern Sociology, London: Sage.

Windhal, S. and Signitzer, B. (2009), Using Communication Theory: An Introduction to Planned   Communication, Los Angeles: Sage.

 

  1. บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ และหนังสือรวมเล่ม

            2.1 บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความ”, ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้า (ถ้ามี).

เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา (2561), “การนำเสนอภาพความเป็นแม่ในหนังสือเด็กในประเทศไทย”, วารสารศาสตร์, 11(2): 113-160.

            2.2 บทความ ข่าว หรือคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความหรือชื่อหัวข้อในคอลัมน์”, ชื่อหนังสือพิมพ์, วันที่/เดือน: เลขหน้า.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2548), “กระทะปฏิวัติอาหารไทย”, มติชน, 22 กันยายน: 34.

            2.3 บทความในหนังสือรวมเล่ม

ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความ/งานเขียน”, ใน ชื่อผู้แต่งหนังสือ (บ.ก.), ชื่อเรื่องหนังสือ, ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี),   สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ (2558), “ธุรกิจเพลง”, ใน สมสุข หินวิมาน และคณะ (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ:         สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

  1. รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์

ชื่อผู้วิจัย (ปีที่พิมพ์), ชื่อรายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์, สถาบันต้นสังกัดหรือรายละเอียดของระดับวุฒิ ปริญญาของรายงานวิจัยดังกล่าว.

ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร (2556), การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนหูหนวกไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต       สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

  1. เอกสารที่ไม่เป็นเล่ม เช่น เอกสารประกอบการสอน เอกสารอัดสำเนา แผ่นพับ

ให้ผู้เขียนระบุคุณลักษณะของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวไว้ท้ายการอ้างอิง เช่น

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2561), รายงานผลการดำเนินงานของ หลักสูตร วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (ปรับปรุง พ.ศ.2559), เอกสารอัดสำเนา.

  1. ข้อมูลออนไลน์ หรือสารสนเทศบทอินเทอร์เน็ต

ให้ระบุข้อมูลจากหนังสือ บทความ หรือเนื้อหาที่อ้างอิง จากนั้นตามด้วยแหล่งที่มาและวันเดือนปีที่สืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ ดังตัวอย่าง

ระพีพรรณ พัฒนาเวช และคณะทํางานห้องสมุดไทยคิด (มปป.), คู่มือการคัดเลือกหนังสือสำหรับเด็กแต่ ละวัย, สืบค้น       เมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/000597.pdf

Flood, A. (2011), “Study Finds Huge Gender Imbalance in Children’s Literature”, The Guardian, retrieved 24        July 2016, from https://www.theguardian.com/books/2011/ may/06/gender-imbalance-children

 

การส่งต้นฉบับเนื้อหา

o เนื้อหาจัดพิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 15 pt

o ความยาวประมาณ 15-20 หน้า ขนาด A4 พร้อมจัดเรียงภาพประกอบสีขาวดำลงในไฟล์ Microsoft Word

o จัดต้นฉบับเป็นเอกสารเวิร์ดส (นามสกุล .doc, .docx, .rtf, txt) ไม่รับเอกสาร .pdf

o ส่งพร้อมบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน (พร้อมระบุชื่อและสังกัดของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษประกอบด้วย)

o ตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด

o ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ภาพประกอบ (เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ)

   ให้ครบถ้วนลงแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีทางไปรษณีย์หรืออีเมล์มายังกองบรรณาธิการ หรือ ส่งผ่านระบบออนไลน์ ทาง https://tci-thaijo.org/index.php/jcmag

 

การส่งไฟล์ภาพประกอบ

o ส่งไฟล์คุณภาพดีแยกต่างหากจากเนื้อหา

o ความละเอียดไฟล์ภาพอย่างต่ำ 300 dpi

o ขนาดของไฟล์ภาพไม่ควรเกิน 1M

o นามสกุลไฟล .tif หรือ .jpg

o ปรับโหมดไฟล์ภาพเป็นขาวดำ 

 

จริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานและบทความวิชาการ

                (1) จริยธรรมของผู้เขียนบทความ บทความที่นิพนธ์ขึ้นและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ ต้องเป็นงานเขียน ความคิด หรืองานสร้างสรรค์ ที่มิใช่การลอกเลียนผลงานวิชาการ (plagiarism) และต้องจัดทำการอ้างอิงผลงานในเนื้อหาหรือบรรณานุกรมอย่างชัดเจน

                (2) จริยธรรมของผู้อ่านประเมินบทความ การอ่านประเมินต้นฉบับบทความในวารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ เป็นการประเมินแบบปิด (blind evaluation) ผู้ประเมินจักต้องไม่เปิดเผยผลการประเมินของตนต่อสาธารณะ และให้ถือว่าการประเมินดังกล่าวเป็นความลับ

                (3) จริยธรรมของกองบรรณาธิการ กองบรรณาธิการมีความรับผิดชอบวารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ ให้ตรงตามกำหนดและวาระในการตีพิมพ์