การออกแบบและการสื่อความหมายแบบศิลปะแลนด์อาร์ต ในผลงาน “ผ้าคาดตึก” คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Main Article Content

พักตร์พิไล คุปตะวาทิน

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงาน “ผ้าคาดตึก” อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สร้างสรรค์ขึ้นเนื่องในงานครบรอบห้าสิบปีนิเทศศาสตร์จุฬาฯ ว่าเป็นการออกแบบและสื่อความหมายในลักษณะศิลปะแบบใดระหว่าง มินิมอลอาร์ต คอนเซ็ปชวลอาร์ต ป๊อปอาร์ต หรือแลนด์อาร์ตเนื่องจากชิ้นงานสร้างสรรค์นี้ มีองค์ประกอบคล้ายกับรูปแบบของงานศิลปะทั้งสี่ประเภท โดยเมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าผลงาน “ผ้าคาดตึก” จัดอยู่ในประเภทศิลปะแบบแลนด์อาร์ตเนื่องจากการสร้างสรรค์ผลงานให้ความสำคัญต่อกระบวนการออกแบบและผลิตรวมถึงสภาพแวดล้อมสถานที่ และให้ความสำคัญกับการสื่อความหมายด้านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการสื่อแนวคิด

 

This article analyzes a work of art called “Tie Building with Satin”. This artwork was designed for decorating Mongkutsamuttiwong building for the 50th Anniversary Celebration of Faculty of Communication Arts at Chulalongkorn University. This artpiece was examined to determine the kind of art form it represents, among minimal art, conceptual art, pop art, and land art. The analytical frameworkfocuses on key concepts of design forms and communication ideas among these art classifications.The “Tie Building with Satin” was found to be a land art piece, because it values onplaces, design and production process, and conveying emotions rather than communicating ideas. 

Article Details

Section
Articles