เกี่ยวกับวารสาร

หลักการและเหตุผล

วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม เป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์ และ

สังคมศาสตร์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันเป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุ่มที่ 2 สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นวารสารวิชาการรายครึ่งปี (ปีละ 2 ฉบับ) โดยพิจารณาเผยแพร่บทความที่มีเนื้อหา ดังต่อไปนี้

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
  2. การสื่อสาร ; การสื่อสารเพื่อสุขภาพ ; การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว; การสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม; การสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์
  3. ศิลปะร่วมสมัยและการออกแบบสื่อร่วมสมัย
  4. เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม
  5. ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การแสดงและกำกับการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การออกแบบเพื่อการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การจัดการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
  6. การจัดการและการบริหารธุรกิจไซเบอร์
  7. สื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย   

Peer Review Process

  1. ทุกบทความจะได้รับการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และจะต้องผ่านการพิจารณา 2 ใน 3 ท่าน จึงจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
  2. การพิจารณาใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน
  3. ระหว่างขั้นตอนของการประเมินไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนและผู้ประเมิน (Double blind Peer-review)

Publication Frequency

ปีละ 2 ฉบับ: ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)

วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งแบบตีพิมพ์ (Print) และแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) โดยทั้ง 2 รูปแบบได้มีการจัดทำและเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงฉบับปัจจุบัน และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการอ้างอิงให้กับผู้ใช้งาน ทางวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมจึงจำแนกเลข ISSN เป็น 2 ชุด ตามรูปแบบของการจัดทำวารสาร ดังนี้

  1. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ในรูปแบบตีพิมพ์ (Print) จะใช้เลข ISSN 1906-6988 (Print)
  2. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) จะใช้เลข ISSN 2586-9078(Online)

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์วารสาร

1) เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ  (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article)

2) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไป มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนวัตกรรมการสื่อสาร
3) เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจด้านนวัตกรรมการสื่อสาร  

กำหนดการเผยแพร่

ปีละ 2 ฉบับ: ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)

วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งแบบตีพิมพ์ (Print) และแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) โดยทั้ง 2 รูปแบบได้มีการจัดทำและเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงฉบับปัจจุบัน และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการอ้างอิงให้กับผู้ใช้งาน ทางวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมจึงจำแนกเลข ISSN เป็น 2 ชุด ตามรูปแบบของการจัดทำวารสาร ดังนี้

  1. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ในรูปแบบตีพิมพ์ (Print) จะใช้เลข ISSN 1906-6988 (Print)
  2. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The journal of social communication innovation) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) จะใช้เลข ISSN 2586-9078(Online)

นโยบายค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

วารสารฯ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ผู้สนใจสามารถส่งบทความได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื่องจาก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

ข้อตกลงเบื้องต้น

- บทความวิชาการและวิจัยทุกเรื่องได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 2 ท่าน / บทความ

- บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตาราง ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

- บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมทราบจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

- บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ จะไม่ส่งคืน

รายละเอียดของ Publication Ethics สำหรับผู้เขียน

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

    1. ผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ไม่อยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ซึ่งพบว่าผลงานนั้นไม่เป็นผลงานใหม่ เคยได้รับการตีพิมพ์แล้ว หรืออยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นหากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
    2. ผลงานที่ส่งมานั้นต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือไม่ปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ หากกองบรรณาธิการพบว่าผลงานที่ส่งมานั้นบิดเบือนข้อมูล ปกปิดข้อมูล หรือรายเป็นเท็จ หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้นิเขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
    3. ผลงานที่ผู้เขียนอ้างอิงผลงานของตนเองหรือของผู้อื่น ผู้เขียนต้องจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้ครบถ้วนถูกต้องทุกรายการ หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
    4. ผลงานที่ผู้เขียนส่งเข้าระบบเพื่อรับการพิจารณาของวารสารจะต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน(Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
    5. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมกำหนด โดยผลงานที่ส่งเข้าระบบเพื่อรับการพิจารณาต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์ในการตรวจสอบจะต้องมีความซ้ำซ้อนไม่เกิน 20%

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพและความเหมาะสมของบทความตามขอบเขตของวารสารและสาขาวิชาย่อยของวารสารกำหนด
  2. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณาบทความโดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์มาใช้ในการตัดสินบทความหรือผู้เขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  3. บรรณาธิการวารสารต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ผู้เขียนและผู้ประเมินบทความส่งมา
  4. บรรณาธิการวารสารไม่ตีพิมพ์บทความที่มีความเหมือน หรือความซ้ำซ้อน หรือคัดลอกผลงานอื่น หรือบิดเบือนข้อมูล หรือปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ
  5. บรรณาธิการวารสารมีการตรวจสอบบทความที่ผู้เขียนส่งเข้าระบบเพื่อห้องกันการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง
  6. บรรณาธิการวารสารมีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้องและชัดเจน
  7. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาผู้ประเมินบทความที่ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาให้มีความเหมาะสม
  8. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมไม่นโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการตีพิมพ์บทความ ยกเว้นผู้เขียนส่งบทความที่บิดเบือนข้อมูล หรือปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ หรือคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง หรือไม่เป็นผลงานใหม่ หรือเคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เป็นเหตุให้มีกระบวนการพิจารณาหรือตีพิมพ์วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่เกิดขึ้น

ติดต่อกองบรรณาธิการ
114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ (02) 649-5000 ต่อ 11269 (คุณณัฏฐนันท์ สุวงศ์ษา)

โทรสาร   (02) 259-2344

E-mail: [email protected]

วารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online: ThaiJo) :

https://www.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/about/index

ขอความกรุณาตอบแบบสำรวจความพึงพอใจวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

goo.gl/3P5Leqcontent

Sponsors: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ