การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

(A Factor Analysis of Social Media Literacy of Undergraduates in Autonomous Higher Education Institutions in Bangkok)

ผู้แต่ง

  • ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ
  • จตุพล ยงศร
  • จักรกฤษณ์ โปณะทอง

คำสำคัญ:

วิเคราะห์องค์ประกอบ / การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ / factor analysis / social media literacy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกล่มุ ตัวอย่างนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 449 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนส่ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อทดสอบค่า Kaiser-Meyer-Olkin: KMO ซึ่งเท่ากับ .924 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลเหมาะสมต่อการวิเคราะห์องค์ประกอบในระดับดีมาก ค่า Bartlett’s test of Sphericity มีการแจกแจงโดยประมาณแบบ Chi-Square เท่ากับ 10007.302 และค่า Significant เท่ากับ .000 ทำการหมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) สามารถทำการวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การตระหนักถึงผลกระทบในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) การตรวจสอบความถูกต้องของสื่อสังคมออนไลน์ 3) การแยกแยะข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ 4) การวิเคราะห์เทคนิคการสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์ 5) การรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างผลงานในสื่อสังคมออนไลน์ 6) การรู้ความหมายที่ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ 7) การประเมินคุณค่าทีไ่ ด้รับจากสื่อสังคมออนไลน์ 8) การคัดเลือกข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ และ 9) การสร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์

คำสำคัญ : วิเคราะห์องค์ประกอบ / การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

Abstract

          The purpose of this research was to study the social media literacy of undergraduates in autonomous higher education institutions in Bangkok: Chulalongkorn university, Mahidol university and Srinakharinwirot university. The samples were 449 students who are currently studying in year 1-4. The statistics used was exploratory factor analysis. The research instrument was a questionnaire with 60 question items using Likert scale (5 Likert Type scale). The research found that the factors of social media literacy of undergraduates in autonomous higher education institutions in Bangkok, the Kaiser-Meyer-Olkin: KMO was .924 which indicated that the items were appropriate in a very good level. In addition, Bartlett’s test of Sphericity, estimated with Chi-Square redistribution, was 10007.302, and the significant value was equal .000. The rotation elements with Varimax method can be categorized into 9 factors consisted of 1) awareness the effects of social media 2) verify accuracy of social media  3) differentiate information available in social media 4) analyze social media communication techniques 5) contribute to social media through information gathering 6) know the meaning of symbols used in social media 7) appraise social media’s values 8) select information on social media, and 9) use social media as domain for creative works.

Keyword : factor analysis / social media literacy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01