การศึกษาและพัฒนาของเล่นเชิงเครื่องประดับเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก 6-8 ปี

การศึกษาและพัฒนาของเล่นเชิงเครื่องประดับเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก 6-8 ปี

ผู้แต่ง

  • สุภิญญา นวมสันเทียะ
  • กรกลด คำสุข
  • ยศไกร ไทรทอง

คำสำคัญ:

ของเล่นเชิงเครื่องประดับ, ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก, อายุ 6-8 ปี, Toy jewelry, Creative in children, Ages six to eight

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาของเล่นเชิงเครื่องประดับเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก 6-8 ปี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเล่นของเล่นเชิงเครื่องประดับที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็ก  6-8 ปี
2) เพื่อออกแบบและพัฒนาของเล่นเชิงเครื่องประดับที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็ก 6-8 ปี วิธีการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูล ทุติยภูมิ (Secondary Data) เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและนำข้อมูลดังกล่าวมาสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากนั้นวิเคราะห์กับผู้เชี่ยวชาญจนได้แนวคิดและข้อกำหนดในการออกแบบ ผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ได้ผังแนวคิดการบูรณาการการเล่นและของเล่นเชิงเครื่องประดับ เป็นแนวคิดนวัตกรรม "อัญมณีแห่งการเล่นของเล่นเชิงเครื่องประดับ" ซึ่งมี 8 หัวข้อดังนี้ 1) การเล่นแบบต่อประกอบ (Building Play) 2) การเล่นแบบงานฝีมือ (Craft Play) 3) การเล่นแบบบทบาทสมมติ (Role Play) 4) การเล่นแบบปรับเปลี่ยนรูปร่าง (Transform Play)  5) การเล่นแบบคณิตศาสตร์ (Math Play) 6) การเล่นแบบสิ่งแวดล้อม (Environment Play) 7) การเล่นแบบศิลปะ (Art Play) 8) การเล่นแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Since and Technology Play) จากแนวคิดดังกล่าวผลการศึกษาผู้วิจัยได้ทดลองออกแบบของเล่นเชิงเครื่องประดับ 3 รูปแบบ ขั้นต่อมาพบว่า การเล่นของเล่นเชิงเครื่องประดับที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็ก 6-8 ปี คือ การเล่นแบบต่อประกอบ (Building Play) และการออกแบบของเล่นเชิงเครื่องประดับที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็ก 6-8 ปี โดยมีข้อกำหนดที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบร่วม 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม 2) ด้านวัสดุ 3) ด้านรูปทรง และพื้นผิว 4) ด้านสี 5) ด้านความปลอดภัย 6) ด้านข้อต่อ 7) ด้านวิธีการเล่น จากนั้นผู้วิจัยได้ทดลองออกแบบของเล่นเชิงเครื่องประดับจำนวน 1 ชุด เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาต่อไป

คำสำคัญ: ของเล่นเชิงเครื่องประดับ / ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก / อายุ 6-8 ปี 

Abstract

The objectives of this study and development of toy jewelry to promote creativity among children aged between six to eight were as follows: 1) to study the use of toy jewelry to encourage creativity in six to eight year-old children and 2) to design and develop toy jewelry for encourage creativity among six to eight year-old children.

The related secondary data was studied and used in in-depth interviews with experts in order to obtain the primary data. The data analyzed was then performed in collaboration with the experts to obtain concepts and design specifications. The results of the data analysis and synthesis was a concept map for the integration of playing and toy jewelry, an innovative concept “Called The Jewel of Playing Toy Jewelry” with eight topics, which are Building Play, Craft Play, Role Play, Transform Play, Math Play, Environment Play, Art Play, and Science and Technology Play.

It was found that the concept of toy jewelry from the focus points mentioned above, researchers have produced 3 different toy jewelry designs and Researchers found these toys could encourage creativity in among six to eight year-old children when used in building play. In terms of the design of toy jewelry to encourage creativity in among six to eight year-old children, there were seven aspects that should be considered as follows: 1) Development and behavior 2) Material 3) Shape and surface 4) Color 5) Safety 6) Joint 7) Methods Playing. The researchers then designed a set of prototype toy jewelry as a reference for further designs and developments.

Keywords: Toy jewelry / Creative in children / Ages six to eight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30