เครือข่ายสังคมออนไลน์: มุมมองใหม่ของพื้นที่สาธารณะ และภาคประชาสังคม

ผู้แต่ง

  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พื้นที่สาธารณะ, เครือข่ายออนไลน์, public sphere, social network

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของพื้นที่สาธารณะจากพื้นที่แบบเดิมไปสู่พื้นที่สาธารณะเสมือนจริงในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์ และอธิบายให้เห็นถึงคุณลักษณะเด่นของพื้นที่สาธารณะในรูปแบบใหม่นี้ ที่สื่อสารด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอันนำไปสู่การเกิดขบวนการภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่จริงทางกายภาพ โดยพื้นที่สารธารณะบนเครือข่ายออนไลน์ ได้เปิดโอกาสให้ผู้คนจากทุกหนทุกแห่งสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ทางการสื่อสารได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิดการสื่อสารเสมือนจริง ในรูปแบบของพื้นที่สาธารณะทางการสื่อสาร โดยมีสื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นสื่อกลาง และในด้านหนึ่งการสื่อสารเสมือนจริงนี้ ยังได้ผสานการสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้รับสารและผู้ส่งสารสามารถสื่อสารแบบเห็นหน้าและได้ยินเสียงผ่านเทคโนโลยีระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย จึงทำให้การสื่อสารพื้นที่สาธารณะบนเครือข่ายออนไลน์เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาใช้สื่อประเภทนี้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น (active participant) มากกว่าการใช้พื้นที่สาธารณะในรูปแบบสื่อมวลชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะในรูปแบบใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยให้กับสังคมไทยได้มากยิ่งขึ้น

 

Social Network : The New Trend of Public Sphere and Civil Society

This article is aimed to illustrate the development of “public sphere” from the traditional physical space to the virtual space in the form of social network and to point out strengths of the new approach of public sphere, which is weaved by the thread of computer network. Also, the author would like to highlight the importance of the virtual public sphere as a catalyst of various civil movements in the physical public sphere. The virtual public sphere on social network is a platform of social liberalization as it allows people from all walks of life to use the public sphere for communication under the concept of virtual communication that has computer as the medium. At the same time, the virtual communication also allows face-to-face communication in which senders and receivers can see and hear each other through Internet network. Therefore, communication on social network is two-way communication. A user of this form of communication has to be more active than a user of the public sphere in the form of mass media. This can be implied that the new virtual public sphere could support democratization in Thai society.

Downloads