ช่างทอผ้าพื้นบ้านกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เมธ์วดี พยัฆประโคน สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ช่างทอผ้าพื้นบ้าน, การเปลื่ยนแปลงทางสังคม, สุรินทร์, Weaver of folk art, Social Change, Surin

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายถึงสถานการณ์ของช่างทอผ้าพื้นบ้านกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีจุดเด่นของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความอุดมสมบูรณ์จากลุ่มน้ํามูลและลําน้ําสาขา มีเอกลักษณ์โดดเด่นของประเพณีวัฒนธรรม 3 ชนเผ่า คือ เขมร ลาว และกูย มีงานหัตถกรรมการทอผ้าไหมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษและมีพัฒนาการจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ทําให้ผ้าของจังหวัดสุรินทร์มีความสวยงาม วิจิตร ประณีต และมีประโยชน์ใช้สอย เป็นงานหัตถศิลป์ที่ดํารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์จังหวัดสุรินทร์และการดิ้นรนของชุมชนทอผ้า ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีการนําภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นมาแปลงเป็นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ทําให้การทอผ้ายังคงเป็นกิจกรรมสําคัญในหลายชุมชน บางชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าสําหรับใช้เองในครอบครัว บางชุมชนทอผ้าโดยแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยและกระจายให้ชาวบ้านทําที่บ้าน กระบวนการเหล่านี้มีนายทุนเป็นผู้กําหนดรูปแบบและนําส่งผ้าที่เสร็จสมบูรณ์ออกสู่ตลาด มีการตีราคาและให้คุณค่ากับผ้าลวดลายโบราณ การแข่งขันภายในของตลาด วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และการทอผ้าเน้นปริมาณเพื่อจําหน่ายตลาดกรุงเทพมหานครส่งผลให้ผ้าพื้นบ้านที่มีขั้นตอนซับซ้อนถูกละเลย หลายครอบครัวเลิกทอผ้าและสนับสนุนให้บุตรหลานประกอบอาชีพอื่น ช่างทอหลายคนอายุมากและจากไปโดยไม่มีผู้สืบทอด ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้การทอผ้าพื้นบ้านแบบดั้งเดิมเสี่ยงที่จะสูญหายหรือถูกลบเลือนไปในอนาคต

 

Weaver of folk art with social change at Surin Province

This article is about the situation of weaver folkand the social change in Surin Province. Surin Province is prominent in geography, the abundance of soil from the Moon River and its branches, and the remarkable traditions and cultures from 3 ethnics which are Kmer, Lao and Kug. The silk weaving which is adopted from ancestor has unique and exquisite pattern with useful function indicates the identity of Surin Province and Weaving Community Striving. In the age of creative economy the wisdom and resources of local community are recruited as raw materials for products and services. Therefore every local community does the silk weaving as the main activity. Some communities are growtheir own mulberry and do silk weaving only for their own, but other communities do silk weaving  together for living. The design and marketing of the silk are demanded from the upholders therefore the silk weavers are weaving for mass markets in Bangkok. From this reason affects the mechanism of competition in local market and also the increasing of raw materials price in community. Finally, many families stop to weave the silk and work in other occupations. Moreover, the old weavers are passed away without ancestors who know how to weave the unique and exquisite pattern of silk.

Downloads