การศึกษาปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและชาวต่างชาติ

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ สมิธ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและชาวต่างชาติที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอพิบูลมังสาหาร และจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการงานตรวจคนเข้าเมืองจำนวน 15 คน และผู้ใช้บริการชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่จำนวน 36 คน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ มีการคัดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจงและการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการส่วนมากพึงพอใจคุณภาพการให้บริการโดยทั่วไปของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง 2) เจ้าหน้าที่ชาวไทยมีปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกับผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ ซึ่งเห็นได้จากการพูดประโยคสั้นๆ โดยใช้ภาษาอังกฤษสลับกับภาษาไทย หรือ การให้คนไทยที่ติดตามมากับผู้ใช้บริการเป็นล่ามดำเนินธุรกรรมแทน 3) เจ้าหน้าที่ไทยมีปัญหาเรื่องการตระหนักรู้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ส่วนมากคิดว่าตนเองเป็นตำรวจทำงานให้องค์กรรัฐ จึงคาดหวังว่าผู้ใช้บริการจะปฏิบัติตามกฎซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง การไม่อัพเดทข้อมูลเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆในเว็บไซต์ขององค์กรก่อปัญหาแก่ผู้ใช้บริการ เพราะผู้ใช้บริการคาดหวังว่าข้อมูลที่ตนได้รับนั้นมีความชัดเจนแน่นอน


A Study of the Use of English in an Intercultural Context between Thai Immigration Officers and Visitors

The goal of this research was to examine the use of English in an intercultural context between Thai immigration officers and English-speaking visitors at Immigration Offices in Phibun Mangsahan and Sirindhorn Districts, Ubon Ratchathani Province. The research participants were Thai officers at the Immigration Office in Phibun Mangsahan District and Chong Mek Permanent Border Checkpoint in Sirindhorn District and English-speaking visitors who used services at those two offices. The total number of the first and second participant groups was 15 and 36, respectively. The research combined qualitative and quantitative methods and drew upon purposive and random sampling methods. Data-collection methods included questionnaires, field observations, and in-depth interviews. The research findings show that 1) most visitors were generally satisfied with the services they received at both offices; 2) Thai immigration officers struggled with problems in using English with international visitors, which was evidenced on their use of strategies including short sentences, code-switching, or depending on Thai-speaking individuals accompanying the visitors; and 3) Thai officers also had issues regarding awareness of cross-cultural differences. The majority of the officers viewed themselves as ‘police officers’ working for the state. They thus expected customers to follow rules, which happened to change often. The lack of updated information on the Office’s website also caused trouble to the customers, who expected the information that was clear and accurate.

Downloads