การศึกษาประสบการณ์ในการเรียนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วัฒนา ประสานทอง สาขาวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ในการเรียน, การเรียนภาษาจีน, มัธยมศึกษา, experience in learning, learning Chinese, secondary school

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการศึกษาประสบการณ์ในการเรียนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในการพัฒนาการด้านพุทธิพิสัย  ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย  วิธีวิทยาในการวิจัยคือปรากฏการณ์วิทยา ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้เรียนที่เคยผ่านการเรียนแผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงปีการศึกษา 2548 - 2556 โดยกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ (1) รุ่นที่จบมาแล้วเมื่อ 1-2 ปี เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา (2) รุ่นที่จบแล้ว 4-5 ปี และเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน (3) รุ่นที่จบแล้ว  6-9  ปี วัยทำงาน และมีความยินดีให้ความร่วมมือในการเล่าประสบการณ์การเรียนของตนเอง ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) รุ่นที่จบมาแล้วเมื่อ 1-2 ปี เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารที่ดี อธิบายเรื่องราวด้วยไวยากรณ์ วลี กลุ่มคำในภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รุ่นที่จบแล้ว 4-5 ปี และเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารที่ดี การออกเสียงเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันทำได้ดีเหมือนเจ้าของภาษา รุ่นที่จบแล้ว  6-9  ปี วัยทำงาน ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารที่ดีมาก มีความสนใจภาษาจีนเพื่อการซื้อขาย ท่องเที่ยว และธุรกิจ (2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain ) รุ่นที่จบมาแล้วเมื่อ 1-2 ปี เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนมีทัศนคติ มุมมองที่ดีมากต่อการเรียนภาษาจีน เห็นความสำคัญและมีเป้าหมายการเรียนภาษาจีนที่ชัดเจน เพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและอาชีพในอนาคต รุ่นที่จบแล้ว 4-5 ปี และเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีมากต่อการเรียนภาษาจีน ใช้ความสามารถพิเศษ คือ การสื่อสารภาษาจีนในการทำงาน รุ่นที่จบการศึกษามาแล้ว  6-9  ปี วัยทำงาน ผู้เรียนมีทัศนคติ มุมมองที่ดีมากต่อการเรียนภาษาจีน มีทักษะชีวิตตามแนวทางปรัชญาและวัฒนธรรมจีนที่เหมาะสมกับพื้นฐานสังคมไทย (3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) รุ่นที่จบมาแล้วเมื่อ 1-2 ปี เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนพัฒนาทักษะการพูดทำได้ดี ผู้เรียนมีสำเนียง การออกเสียงที่ดีทุกคน การฝึกเน้นการสนทนากับครูชาวจีนเจ้าของภาษา รุ่นที่จบแล้ว 4-5 ปี และเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผู้เรียนแสดงถึงความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อให้ได้ทักษะการสื่อสารภาษาจีนที่ดี การเรียนเน้นการสื่อสารกับครูจีนเจ้าของภาษามากกว่าการท่องจำในตำราเรียน รุ่นที่จบการศึกษามาแล้ว 6-9  ปี วัยทำงาน ผู้เรียนผ่านการเรียนที่มีการฝึกฝนอย่างหนัก ทำให้ทักษะภาษาจีนทำได้เป็นอย่างดีทั้งทักษะการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน

 

The Study of Experience in Learning Chinese at a Secondary School

This research aimed to explore the experience in learning Chinese during secondary schoolwith regard to cognitive domain, affective domain, and psychomotor domain development. Phenomenology was employed as a method of study. The researcher chose purposing sampling for key informants. In-depth interviews were conducted for students who enrolled in the Chinese language program and received high school diploma from Traimit Wittayalai School during the 2005-2013 academic years. Selection criteria for thekey informants were (1) undergraduate students who finished 12th grade for 1-2 years already, (2) novice workers who finished 12th grade for 4-5 years already, and (3) experienced workers who finished 12th grade for 6-9 years already. They were willing to participate in the interviews of their experiences in learning. Research findings indicated that (1) cognitive domain for the undergraduate students expressed good communication skills. They were able to explain their accounts using Chinese grammars, phrases, and lexical items in their daily life. Novice workers demonstrated good communication skills. Pronunciation in everyday correspondence was as good as native speakers. Experienced workers articulated very good communication skills. They were interested in Chinese for trading, tourism, and business. (2) Affective domain for the undergraduate students showed a very good stance on Chinese learning. They knew the importance and had a clear goal of learning Chinese in pursuing their higher education and future career. Novice workers revealed a very good attitude on Chinese learning, utilizing their special talent of Chinese in workplace. Experienced workers exhibited highly constructive views on Chinese learning, earning life skillsfollowing the Chinese philosophy and culture fit to the foundation of Thai society. (3) Psychomotor domain for the undergraduate students indicated good speaking skills. All of them acquired decent accent and pronunciation due to engaged conversation drills with native Chinese teachers.Novice workers obviously paid attention to study and practice for effective Chinese communication skills.Learning emphasized on interactions with native Chinese teachers rather than memorizing words in textbooks. Experienced workers were challenged with tough lessons. They gained good Chinese language for speaking, listening, reading and writing skills.

Downloads