การประกอบสร้างสุนทรียะแห่งรัก และ ภาพสะท้อนสังคมในภาพยนตร์รักของไทย พ.ศ. 2548-2552

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา เปี่ยมการุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์รักของไทย, ภาพสะท้อนสังคม, Thai Love Film, Social Reflection

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การประกอบสร้างสุนทรียะแห่งรัก และ ภาพสะท้อนสังคมในภาพยนตร์รักของไทย พ.ศ.2548-2552” (The aesthetics construction of love and the social reflection in Thai love film 2548-2552) ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาภาพรวมของภาพยนตร์ไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2548-2552 โดยผ่านภาพยนตร์ไทยประเภทความรัก (2) เพื่อศึกษาแนวคิดและโลกทัศน์ในมิติด้านต่างๆ ของ ผู้สร้างภาพยนตร์ประเภทความรักของไทย พ.ศ.2548-2552 (3) เพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรม อัตลักษณ์ รวมถึงมิติด้านต่างๆ ที่ถูกประกอบสร้างผ่านภาพยนตร์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กรอบคิดทางด้านภาพยนตร์ ตลอดจนด้านสื่อและวัฒนธรรมศึกษาภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อเป็นการเปิดมิติทางความคิด โลกทัศน์ ตลอดจนภาพสะท้อนต่างๆ ในบริบทของสุนทรียะ สังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏผ่านภาพยนตร์ โดยทำการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องควบคู่กับทำการวิเคราะห์เนื้อหา/ตัวบท (Textual Analysis) จากสื่อภาพยนตร์ด้วยแนวทางเชิงสัญวิทยา (Semiotic approaches) รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ทางด้านผู้ส่งสาร หรือ ผู้ผลิตภาพยนตร์ จากนั้นนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบของการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า นัยยะสำคัญของกระแสนิยมภาพยนตร์รักของไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในรอบ 5 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2552 มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว จาก 6 เรื่องถึง 13 เรื่อง นอกจากนั้นความหลากหลายของตัวภาพยนตร์รักของไทย สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลักคือ ภาพยนตร์รักวัยรุ่นสนุกสาน ภาพยนตร์รักโรแมนติก ภาพยนตร์รักแบบครอบครับ และภาพยนตร์รักหลากหลาย ซึ่งในทุกประเภทนี้จะมีลักษณะภาพยนตร์ที่ค่อนข้างชัดเจน เป็นเรื่องราวความรักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยในเชิงเนื้อหาอาจใกล้เคียงกันบ้าง แต่หน้าภาพยนตร์ส่วนใหญ่เมื่อเห็นแล้วจะสามารถรับรู้ได้ทันที

ทางด้านผู้ผลิตภาพยนตร์พบว่า ผู้กำกับสามารถนำเสนอเรื่องราวที่มีความเป็นตัวเองผ่านภาพยนตร์ได้ รวมถึงเป็นคนควบคุมดูแลทุกกระบวนการในภาพยนตร์ได้อย่างมีเสรี แต่กระบวนการการเริ่มทำนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทางนายทุนเป็นหลัก เพราะภายใต้อุตสาหกรรมภาพยนตร์รักของไทยนั้น กระแสนิยม หรือกระแสตลาด จะเป็นตัวขับเคลื่อนทิศทางภาพยนตร์มากกว่าจะเป็น ภาพยนตร์ที่ผู้กำกับแต่ละคนอยากทำ ทิศทางภาพยนตร์รักของไทยเลยจะค่อนข้างไปในทิศทางที่ไหลตามกระแสกันไป

 

The aesthetics construction of love and the social reflection in Thai love film 2005-2009

Research “The aesthetics construction of love and the social reflection in Thai love film 2548-2552” The purpose of this qualitative research is to explore and analyze the meaning of love, the identities, the aesthetics and the constructions of love  that appear in Thai love films, study the situations of Thai love films between 2005 and 2009, and the process of thought of the Thai love films directors and its styles.

The results show that the in terms of “love” in Thai love films is defined in the various ways. First of all is Teen Comedy love film, second is Romantic and love films, next is Family love films and last is Diversity love film.  The signification trends of Thai love films have increase in between 2005 and 2009 from 6 films to 13 films. Meanwhile, in terms of Thai love film director aspects show about the funding and film industry situations that have to support the system. Not only can’t create the story by inspiration itself but also have to follow the system of film industry for the market.

The suggestion of this research that have should follow in the others area of study such as the aspects of Viewers, Critic and Academic people in difference viewpoint. Moreover, the researcher should focus on Thai film industries situations for understanding the whole industries.

Downloads