ผลการใช้คอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบ ยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

(Effects of Using problem-Based Learning Courseware for Ubiquitous Learning Upon Problem Solving and Products of Higher Education Students)

ผู้แต่ง

  • ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข
  • เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก

คำสำคัญ:

คอร์สแวร์, การใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบยูบิควิตัส, การแก้ปัญหา, courseware, problem based learning, ubiquitous learning, problem solving

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส  เพื่อศึกษาผลการใช้คอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนจากคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส  กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที 2  สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มทร.ธัญบุรี จำนวน 35 คน  ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์การเรียนรู้แบบยูบิควิตัสและการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน  รูปแบบคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินความสามารถแก้ปัญหา และแบบประเมินผลงาน  แบบประเมินรูปแบบคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส การวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  การวิเคราะห์เนื้อหา  การหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ผลการพัฒนารูปแบบคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัส พบว่า  รูปแบบคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสมี  4  องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คอร์สแวร์ มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ ซอฟต์แวร์  ฮาร์ดแวร์ การเรียนการสอน ปฏิสัมพันธ์ และการประเมินผล 2)การเรียนรู้แบบยูบิควิตัส หรือ การเรียนการสอนแบบทุกที่ทุกเวลา มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ ผู้เรียน  ผู้สอน  การจัดการเรียนรู้เครื่องมือ  และบริบท 3) การใช้ปัญหาเป็นฐาน มี 6 กระบวนการ ได้แก่ กําหนดปัญหา ทําความเข้าใจกับปัญหา ดําเนินการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้   สรุปและประเมินค่าของคําตอบ นําเสนอและประเมินผลงาน 4) การแก้ปัญหาและผลงาน

2. ผลการใช้คอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า นักศึกษาที่เรียนจาก คอร์สแวร์แบบแก้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสฯ ที่พัฒนาขึ้น นักศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 3.18, S.D. = .68) และผลงานโดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} = 3.24, S.D. = .19)

3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนจากคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อคอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.11, S.D. = .53)

คำสำคัญ :  คอร์สแวร์ /การใช้ปัญหาเป็นฐาน /การเรียนรู้แบบยูบิควิตัส /การแก้ปัญหา

 

Abstract

The purposes of this research were to study and to develop the problem-based learning courseware model for ubiquitous learning, to study the effects of  the problem-based learning courseware for ubiquitous learning upon problem solving and products of higher education students and to study students’ satisfaction toward learning from the problem-based learning courseware for ubiquitous learning. The samples were 352rd year undergraduate students chosen by stratified random sampling. The research data were collected by analysis form, PBL ubiquitous learning model, model evaluation form, problem solving ability test, products evaluation test analyzed by content analysis, percentage, mean, standard deviation.

The findings were asfollowed:

1. Problem-Based Learning courseware model for ubiquitous learning were 4 components 1) courseware was consisted of 5 subcomponents: software, hardware, instruction, interactive and evaluation. 2) ubiquitous learning was consisted of 5 sub-components: learner, instructor, learning management, tools and context. 3) problem based learning was consisted of 6 steps: problem scenario, identifyfacts, generate hypotheses, knowledge synthesis, summary and valuation and present and evaluation. 4) problem solving and products.

2. Effectsof PBL courseware for ubiquitous learning to undergraduate  students were revealed  that : the  students  who learned from  PBL courseware for ubiquitous learning had problem solving  score at high level (gif.latex?\bar{x} = 3.18, S.D. = .68) and products’ score at high level (gif.latex?\bar{x} = 3.24, S.D. = .19)

3. The satisfaction of students  to PBL courseware for ubiquitous learning at good level. (gif.latex?\bar{x} = 4.11, S.D. = .53)


Keywords
: courseware / problem based learning / ubiquitous learning / problem solving

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-01