การเปรียบเทียบเนื้อหาของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ของหน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Comparison of Thai-Nichi Institute of Technology’s Departmental Facebook Fanpage Contents

ผู้แต่ง

  • รุ่งภพ ปรีชาวิทย์
  • มยุรี ศรีกุลวงศ์
  • เบญจวรรณ อารักษ์การุณ
  • อารีวรรณ สุขวิลัย
  • อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ

คำสำคัญ:

เฟซบุ๊ก, แฟนเพจ, อัตราการมีส่วนร่วม, Facebook, Fanpage, Engagement Rate

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟซบุ๊กแฟนเพจ เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าสื่อออนไลน์ดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีขององค์กร ส่งผลให้สถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้มีการปรับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โดยใช้การสื่อสารผ่านแฟนเพจมากขึ้น

          บทความนี้รายงานผลการศึกษารูปแบบเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ และอัตราการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามเพจจาก 5 หน่วยงานหลัก ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้แก่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์รับสมัครนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ โดยมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการโพสต์ และอัตราการมีส่วนร่วม เป็นระยะเวลา 2 เดือน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างรูปแบบการโพสต์ และอัตราการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามเพจ

          จากผลการศึกษาพบว่า โพสต์ที่ได้รับอัตราการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือโพสต์ที่มีเทคนิคการใช้สื่อแบบการโพสต์รูปภาพ เนื้อหาในการโพสต์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนักศึกษา และ เป็นโพสต์ที่ใช้รูปภาพในการแสดงภาพขนาดย่อ (Thumbnail) ในทางกลับกันลีลาในการใช้ภาษา และช่วงเวลาในการโพสต์ ไม่แสดงถึงความสัมพันธ์ต่ออัตราการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามเพจ

คำสำคัญ : เฟซบุ๊ก / แฟนเพจ / อัตราการมีส่วนร่วม

 

Abstract

          Currently, social network channels, especially Facebook, play a major role in our everyday lives. Expectedly, varieties of online media channels are popularly exploited by organizations as tools to leverage public relations, communications, and organizational image building. Responding to the present situation, many educational organizations adapt themselves to employing Facebook fan page as the contemporary public relations strategies.

          This article reports the results from the study 5 specific Facebook fan pages of Thai-Nichi Institute of Technology. The data were carefully collected in a period of 2 months. The posts on the fan pages were analyzed according to their Facebook-post formats together with the corresponding engagement rates, in order to examine any possible relationship between the format of the posts and the engagement received from the page followers.

          From the study, interestingly, the posts with the most engagement rates shared some common characteristics. The formats of the popular post comprised 1) posting pictures as a posting technique, 2) posting content related to student activities, and 3) using pictures as thumbnails. While the other 2 format types, namely, language style and posting time, did not illustrate concrete relationships with the engagement rates.

Keywords: Facebook / Fanpage / Engagement Rate

References

กลุ่มงานวิเคราะห์และพยากรณ์เชิงเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติพยากรณ์. (2554). การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/ictDev54.pdf

ฐิติกานต์ นิธิอุทัย. (2554). การตลาดผ่านเฟซบุ๊ก. กรุงเทพมหานคร: ดรีม แอนด์ แพชชั่น.

ปุณณภา เหลื่อมล้ำ และ มยุรี ศรีกุลวงศ์. (2559). การวิเคราะห์รูปแบบของเฟซบุ๊กแฟนเพจของ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก.การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 (ASTC2016).

ณัฐา ฉางชูโต. (2554). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้กระแส Social Network. วารสารนักบริหาร.31(2) :173 - 183

ณัฐพล ศรีพันธุ์ และ มยุรี ศรีกุลวงศ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบโฆษณาของเฟซบุ๊กและพฤติกรรมการส่งต่อ. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 (ASTC2016).

เฟซบุ๊ก. (2560). แฟนเพจฝ่ายประชาสัมพันธ์. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จาก https://www.facebook.com/ThaiNichi

_____. (2560). แฟนเพจศูนย์รับสมัครนักศึกษา. สถาบัน

เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม

, จาก https://www.facebook.com/

TNIadmissioncenter

_____. (2560). แฟนเพจคณะวิศวกรรมศาสตร์. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จาก https://www.facebook.com/EngineerTni

_____. (2560). แฟนเพจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จาก https://www.facebook.com/TNIfacultyIT

_____. (2560). แฟนเพจคณะบริหารธุรกิจ. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จาก https://www.facebook.com/batni999

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.). (2019). ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560, จาก https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html

Facebook users worldwide 2018. (2019). สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560, จาก https://www.statista. com/statistics/ 264810/number-of-monthly-active-facebook-users-worldwide/How to manage your Facebook business Pages.

(2019). สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560, จาก https://www.facebook.com/business/ pages/manage

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business model generation. Hoboken, NJ: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01