เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล

(Children and Digital Literacy)

ผู้แต่ง

  • พีรวิชญ์ คำเจริญ
  • วีรพงษ์ พลนิกรกิจ

คำสำคัญ:

เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล / ทักษะดิจิทัล / การส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัล / Children and Digital Literacy / Digital Literacy Skills / Digital Literacy Promote

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          วิวัฒนาการของเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์พกพา โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และ เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาอย่างแพร่หลาย และมีอิทธิพลต่อคนในสังคมทุกเพศทุกวัย รวมทั้งวัยเด็กและเยาวชนที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ทั้งนี้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลจึงเข้ามามีอิทธิพลกับเด็กและเยาวชนในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งเด็กจะใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลแตกต่างจากผู้ใหญ่ ขณะที่ผู้ใหญ่หรือผู้ใกล้ชิดกับเด็กควรให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และที่สำคัญควรตระหนักถึงความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence) หรือที่เรียกว่า DQ ของเด็กในยุคดิจิทัล ซึ่งความฉลาดทางดิจิทัลเป็นความสามารถทางด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาที่ช่วยให้บุคคลแต่ละบุคคล เผชิญกับความท้าทายและ ความต้องการเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล รวมถึงช่วยให้เกิดการรู้เท่าทันดิจิทัล ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้การรู้เท่าทันดิจิทัลสำหรับเด็ก โดยเป็นการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนประกอบด้วยสถาบันครอบครัว สถานศึกษาและบุคลากรการศึกษา ภาคราชการ ผู้ให้บริการสื่อดิจิทัล และเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อให้เด็กตระหนักถึงการใช้สื่อดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม รวมไปถึงไม่ตกเป็นเหยื่อหรือทาสของเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลต่อไป 

คำสำคัญ : เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล / ทักษะดิจิทัล / การส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัล

Abstract
          The evolution of technology, digital media, laptop computer, smartphone, tablet and other  communica tion tools, progresses a lot. These become important for conveying life of people in the world including Thailand, where technology and various digital media flooding in. They also impact people of various sex and ages including the juvenile who are important human resources of the country. Technology and digital media then much influence their daily lives. Children usually use technology and digital media differently from the adults. At the meanwhile, the adults or persons who are closed to them should give advises how to use them safely and creatively. The most concerned is the Digital Intelligence (DQ) of the children in digital age. DQ is the social, emotional and intelligence talent that help facing the challenge, technology needs and digital media. DQ also emerges the digital literacy. Consequently, there should be collaboration with all sectors, included with family institution, education sectors, educational staffs, government sectors, digital service sectors and civil society networks, to promote the children’s digital literacy about the responsibility and the ethics. Moreover, they must not be the victims or the technology slaves.

Keyword : Children and Digital Literacy / Digital Literacy Skills / Digital Literacy Promote

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01