พฤติกรรมการใช้หน้าจอของเด็กไทยวัย 0 - 3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

(Screen Behaviour of Thai Toddlers Aged 0 - 3 years in Bangkok)

ผู้แต่ง

  • อภิรพี เศรษฐรักษ์ ตันเจริญวงศ์
  • ศรีรัฐ ภักดีรณชิต
  • ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้หน้าจอ เด็กอายุ 0-3 ปี / ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้หน้าจอ / การสื่อสารสุขภาพ / screen time of preschooler / factors affected the screen time of preschoolers / health communication

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็กเล็ก และผลที่ตามมาคือเด็กปฐมวัยมีการพัฒนาอารมณ์ และภาษาอย่างไม่เหมาะสม การศึกษาในครั้งนี้สำรวจพฤติกรรมการใชหน้าจอโทรทัศน์และหนา้ จอแท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟน ในเด็กทารก/เด็กเล็ก วัย 0-3 ปี ซึ่งยังไม่มีการรายงานในประเทศไทยมาก่อน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 298 ชุด และเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ทำหน้าที่หลักในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ปริมาณการใช้หน้าจอของเด็กไทย อายุ 0-3 ปี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.8 เคยดูโทรทัศน์มาก่อน ส่วนอีกร้อยละ 39.2 ไม่เคยดูโทรทัศน์เลย โดยมีค่าเฉลี่ยการดูโทรทัศน์อยู่ที่ครั้งละ 36.84 นาที และคิดเป็น 78.89 นาทีต่อวัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.4 เคยใช้สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต ส่วนอีกร้อยละ 36.6 ไม่เคยใช้มาก่อน โดยมีค่าเฉลี่ยการใช้หน้าจอแท็บเล็ต ครั้งละ 29.53 นาที คิดเป็น 49.23 นาที ต่อวัน ผลการศึกษาปัจจัยด้านประชากร ศาสตร์ ที่ส่งผลต่อปริมาณการใช้หน้าจอทั้งประเภทโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟนคือรายได้ของพ่อแม่ และประเภทของ สถานที่นอนของเด็ก พบว่าเด็กที่นอนกับปู่ย่าตายายหรือญาติคนอื่น มีปริมาณการใช้แท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน สูงสุด ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ความรู้แก่ สถาบันแม่และเด็ก เนอสเซอรี่ หรือพ่อแม่ ให้รับรู้และเตรียมป้องกันไม่ให้เด็กทารก 0-3 ปี รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป นอกจากนี้พ่อแม่ หรือผู้รับเลี้ยงเด็ก ควรมีเวลาให้กับบุตรหลานมากขึ้น

คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้หน้าจอ เด็กอายุ 0-3 ปี / ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้หน้าจอ / การสื่อสารสุขภาพ

Abstract
          Smartphones and tablets have become the new babysitters in the past few years which resulted in poor emotional and language development in many preschoolers. This study explores screen time of toddlers aged 0 - 3 years old living in Bangkok. Purposive sampling is employed, 298 questionnaires were given to caregivers of toddlers aged 0 - 3 living in Bangkok. Results reveal that 60.8 percent of the toddlers have watched television while 39.2 percent have never exposed to television. The toddlers spend an average of 36.84 minutes on television watching each session and an average of 78.89 minutes each day. Meanwhile, 63.4 percent of toddlers have used smartphone or tablet while 36.6 percent have never. The toddler spend an average of 29.53 minutes each time they use smart phone or tablet or about 49.23 minutes per day.

          The demographic factor that affects screen time are the income of parents and the habitation of toddlers. Children who sleep with grandparents exhibit the highest amount of screen time. The results of this study provide fundamental insights for caregivers, parents, and institutions for child development with an early warning of the substantial amount of time toddlers spend on electronic devices instead of doing other activities. It is recommended that parents or caregivers should spend more time on the toddlers and become engaged in physical activities.

Keyword : screen time of preschooler / factors affected the screen time of preschoolers / health communication

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01