การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 16 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • มีการให้ข้อมูลผู้แต่ง ผู้แต่งร่วมทุกคน โดยผู้ประสานการตีพิมพ์กรุณาแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ในข้อความถึงบรรณาธิการ

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ยินดีรับบทความวิชาการ รายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวกับโรค หรือผลงานควบคุมโรคต่างๆ โดยเรื่องที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลังที่ดำเนินการเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์

วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น

เป็นวารสารทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 ประจำเดือน ม.ค.-เม.ย. 
ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พ.ค.-ส.ค. 
ฉบับที่ 3 ประจำเดือน ก.ย.-ธ.ค. 


กำหนดขอบเขตเวลาของการรับเรื่องตีพิมพ์
เปิดรับบทความอย่างต่อเนื่อง พิจารณาตีพิมพ์ตามการแก้ไขเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามลำดับก่อนหลัง

 

หลักเกณฑ์ และคำแนะนำสำหรับส่งเรื่องเพื่อลงพิมพ์
1. บทความที่ส่งลงพิมพ์
    นิพนธ์ต้นฉบับ   
การเขียนเป็นบทหรือตอนตามลำดับ ดังนี้บทคัดย่อ บทนำ วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการ ผลการศึกษาวิจารณ์ สรุป  กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่องไม่เกิน 12 หน้า
    รายงานผลการปฏิบัติงาน 
ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำวิธีการ ดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน วิจารณ์ผลสรุป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง
    บทความพื้นวิชา  ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ๆ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ หรือเป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์โรคต่างๆ ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำความรู้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ สรุปเอกสารอ้างอิงที่ค่อนข้างทันสมัย
    ย่อเอกสาร อาจย่อบทความภาษาต่างประเทศ หรือภาษาไทย ที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 2 ปี

 การเตรียมบทความเพื่อลงพิมพ์

  1. ชื่อเรื่อง ควรสั้นกระทัดรัดให้ได้ใจความที่ครอบคลุมและตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อผู้เขียน ให้มีชื่อผู้เขียนพร้อมทั้งอภิไธยต่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    เนื้อเรื่อง ควรใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้น กระทัดรัด แต่ชัดเจนเพื่อประหยัดเวลา ของผู้อ่าน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน
        บทคัดย่อ คือ การย่อเนื้อหาสำคัญเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อยแก้วไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด และมีส่วนประกอบคือ วัตถุประสงค์ วัสดุและวิธีการ ผลและวิจารณ์หรือข้อเสนอแนะ (อย่างย่อ)  ไม่ต้องมีเชิงอรรถอ้างอิงถึงเอกสารอยู่ในบทคัดย่อ บทคัดย่อต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

              บทนำ     อธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้างานวิจัยของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน และขอบเขตของการวิจัย

             วิธีดำเนินการวิจัย  อธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่าง และการใช้เครื่องมือช่วยในการวิจัยตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือใช้หลักสถิติมาประยุกต์

             ผลการวิจัย  อธิบายสิ่งที่ได้พบจากการวิจัยโดยเสนอหลักฐานและข้อมูลอย่างเป็นระเบียบพร้อมทั้งแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์แล้วพยายามสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้

            อภิปรายผล/วิจารณ์   ควรเขียนอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด และควรอ้างอิงถึงทฤษฎีหรือผลการศึกษาวิจัยของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

            สรุป (ถ้ามี)   ควรเขียนสรุปเกี่ยวกับความเป็นมา และความสำคัญ ของปัญหาวัตถุประสงค์ขอบเขตการวิจัย วิธีการวิจัยอย่างสั้นๆ รวมทั้งผลการวิจัย (สรุปให้ตรงประเด็น) และข้อเสนอแนะที่อาจนำผลงานการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือให้ข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับการวิจัยต่อไป

  1. 3. การเขียนเอกสารอ้างอิง

       การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) โดยใส่ตัวเลขในวงเล็บหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคล เจ้าของข้อความที่อ้างถึง โดยใช้หมายเลข 1 สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรก และเรียงต่อไปตามลำดับถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิงยกเว้นชื่อต้นและชื่อวารสารบทความที่บรรณาธิการรับตีพิมพ์แล้วแต่ยังไม่เผยแพร่ ให้ระบุ“กำลังพิมพ์” บทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้แจ้ง “ไม่ได้ตีพิมพ์” หลีกเลี่ยง “ติดต่อส่วนตัว” มาใช้อ้างอิง เว้นแต่มีข้อมูลสำคัญมากที่หาไม่ได้ทั่วๆ ไปให้ระบุชื่อ และวันที่ติดต่อในวงเล็บท้ายชื่อเรื่องที่อ้างอิง

        ชื่อวารสารในการอ้างอิง ให้ใช้ชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S.Nation Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปี หรือในเว็บไซต์ ttp://www.nlm.nih.gov/tsd/serials/liji.html

การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

3.1  วารสารวิชาการ

       ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีพิมพ์; เล่มที่ของวาสาร: หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

       วารสารภาษาไทย ชื่อผู้นิพนธ์ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและชื่อสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็ม ปีที่พิมพ์เป็นปีพุทธศักราช วารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัวและชื่อรอง ถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 6 คนแรก แล้ว ตาม ด้วย et al. (วารสาร ภาษา อังกฤษ) หรือ และคณะ (วารสารภาษาไทย) ชื่อวารสารใช้ชื่อย่อตามแบบของ Index Medicus หรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้นๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้ายตามตัวอย่างดังนี้

      3.1.1 เอกสารจากวารสารวิชาการ

  1. วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรี เงินตรา, ปราณีมหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงศ์, ยุวดี ตาทิพย์. การสำรวจความครอบคลุมและการใช้บริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรีอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541; 7: 20-6.
  2. 2. Russell FD, Coppell AL, Davenport AP.In Vitroeyzy-matic processing of Radiolabelled big ET-1in human kidney as a food ingredient. Biochem Pharmacol 1998; 55: 697-701.

 3.1.2 องค์กรเป็นผู้นิพนธ์

       คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอุรเวช แห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการประกอบอาชีพ. แพทย์สภาสาร 2538; 24: 190-204.

3.1.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์

        Coffee drinking and cancer of the pancreas (editorial). BMJ 1981; 283: 628.

3.1.4 บทความในฉบับแทรก

        วิชัย ตันไพจิตร. สิ่งแวดล้อม โภชนาการกับสุขภาพ ใน: สมชัย บวรกิตติ, จอห์น พี ลอฟทัส, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม, สารศิริราช 2539; 48 (ฉบับ ผนวก): 153-61.

วิธีการเขียนฉบับแทรก

  1. 1. Environ Health Perspect 1994; 102 Suppl 1: 275-82.
  2. 2. Semin Oncol 1996; 23 (1 Suppl 2): 89-97.
  3. 3. Ann clin Biochem 1995; 32 (pt 3): 303-6.
  4. 4. N Z Med J 1994; 107(986 pt): 377-8.
  5. 5. Clin Orthop 1995; (320): 110-4.
  6. 6. Curr opin Gen Surg 1993: 325-33.

 3.1.5 ระบุประเภทของบทความ

  1. 1. บุญเรือง นิยมพร, ดำรง เพ็ชรพลาย, นันทวัน พรหมผลิต, ทวี บุญโชติ, สมชัย บวรกิตติ, ประหยัด ทัศนาภรณ์.แอลกอฮอล์ กับ อุบัติเหตุ บน ท้อง ถนน (บทบรรณาธิการ). สารศิริราช 2539; 48: 616-20.
  2. 2. Enzenseberger W, Fischer PA. Metronome in Parkinson’s disease (letter). Lancet 1996; 347: 1337.

 3.2 หนังสือ ตำรา หรือรายงาน

       3.2.1 หนังสือหรือตำราผู้นิพนธ์เขียนทั้งเล่มลำดับ ที่. ชื่อ นิพนธ์. ชื่อ หนังสือ. ครั้ง ที่ พิมพ์.

เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

             - หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์

  1. 1. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหารฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช; 2535
  2. 2. Ringsven MK, Bond D. Gerontology and leadership skills for nurses. 2nd ed. Albany (NY): Delmar Publishers; 1996.

            - หนังสือมีบรรณาธิการ

  1.   1. วิชาญ วิทยาศัย, ประคอง วิทยาศัย, บรรณาธิการ. เวช ปฏิบัติ ใน ผู้ ป่วย ติด เชื้อ เอดส์. พิมพ์ ครั้ง ที่ 1.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก; 2535.
  2. 2. Norman IJ, Redfern SJ, editors. Mental health care for elderly people. New York: Churchill Livingstone; 1996.

 3.2.2 บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

ลำดับที่. ชื่อ ผู้ นิพนธ์. ชื่อ เรื่อง ใน: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย).

  1. 1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่.ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณวงษ์ จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2540. หน้า 424-7.
  2. 2. Phillpps SJ. Whisnant JP. Hypertensionand stroke. In: Laragh JH, Brenner BM, editors. Hypertension:pathophysiology, diagnosis, and management. 2nd ed. New York:Raven Press; 1995. p. 465-78.

  3.3 รายงานการประชุม สัมมนา

ลำดับที่. ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปีประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

  1. 1. อนุวัฒน์ ศุภชุติ กุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ครั้งที่ 2 เรื่อง ส่งเสริมสุขภาพ: บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน; 6-8 พฤษภาคม 2541; ณ โรงแรมโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; 2541.
  2. 2. Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advancesin clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th Internationalcongress of EMG and clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19; Kyoto, Japan. Amsterdam: Elsevier; 1996.
  3. 3. Bengtsson S, Solheim BG, Enforcement of dataprotection, privacy and security in medical informatics. In: Lun KC,Degoulet P, Piemme TE. Rienhoff O, editors. MEDINFO 92.

 4. การส่งต้นฉบับ

       4.1 ให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word พิมพ์ บทความด้วยรูปแบบอักษร Eucrosia UPC ขนาด 16 ตัว อักษรต่อ นิ้ว และ ลงทะเบียน ส่งบทความ และติดตามสถานะะผ่านระบบออนไลน์(E-submission) ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/

       4.2 ภาพประกอบ ถ้าเป็นภาพลายเส้นต้องเขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษหนามัน ถ้าเป็นภาพถ่ายควรเป็นภาพโปสการ์ดแทนก็ได้หรือ save เป็นไฟล์ .JPEG หรือ .TIFFสำหรับการเขียนคำอธิบายให้เขียนแยกต่างหากอย่าเขียนลงในภาพโปสการ์ด

 5. การรับเรื่องต้นฉบับ

       5.1 เรื่องที่รับไว้ กองบรรณาธิการจะแจ้งตอบรับให้ผู้เขียนทราบ

       5.2 เรื่องที่ไม่ได้รับพิจารณาลงพิมพ์กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืน

       

 

 

บทความวิจัย

เป็นวารสารทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)

นิพนธ์ต้นฉบับ   การเขียนเป็นบทหรือตอนตามลำดับ ดังนี้บทคัดย่อ บทนำ วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการ ผลการศึกษาวิจารณ์ สรุป  กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่องไม่เกิน 12 หน้า
     

รายงานผลการปฏิบัติงาน

รายงานผลการปฏิบัติงาน  ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำวิธีการ ดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน วิจารณ์ผลสรุป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง

บทความพื้นวิชา

บทความพื้นวิชา  ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ๆ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ หรือเป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์โรคต่างๆ ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำความรู้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ สรุปเอกสารอ้างอิงที่ค่อนข้างทันสมัย

ย่อเอกสาร

อาจย่อบทความภาษาต่างประเทศ หรือภาษาไทย ที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 2 ปี

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลล์ หมายเลขโทรศัพท์ ผู้แต่งที่กรอกในเวปไซต์วารสารนี้จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น