สมการทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก

ผู้แต่ง

  • กุลชญา ลอยหา Faculty of Public Health, Ubon Ratchathani Rajabhat University
  • ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ Faculty of Medicine, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

มะเร็งช่องปาก, ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปาก, สมการทำนายการเกิดมะเร็งช่องปาก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบ Hospital-based case-control study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์สมการที่ใช้ในการทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งช่องปากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่ (Incidence cases) ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนกผู้ป่วยนอก ในคลินิกหู คอ จมูก ว่าเป็นมะเร็งช่องปากที่ยืนยันด้วยผลการตรวจชิ้นเนื้อทางห้องปฏิบัติการ (Histological confrm) ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2557 โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 คู่ มาจากโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี ส่วนกลุ่มควบคุมของการศึกษานี้ เป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคทั่วไปของ หู คอ จมูก เช่น โรคไข้หวัด โรคนอนกรนโรคภูมิแพ้ โรคหูดับฯ ซึ่งจะต้องเป็นโรคที่ไม่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งช่องปาก และเชื้อ Human papillomavirus (HPV)และกลุ่มควบคุมนี้ได้มาจากโรงพยาบาลเดียวกับกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และสมการทำนายการเกิดมะเร็งช่องปากคือ Logit (มะเร็งช่องปาก) = 2.47 (การสูบบุหรี่) + 3.81(การเคี้ยวหมาก) สมการทำนายการเกิดมะเร็งช่องปากได้ร้อยละ 73.74 ค่าความไวร้อยละ 87.50 ค่าความจำเพาะร้อยละ 53.83 ค่าการทำนายถูกเมื่อผลการทดสอบเป็นบวกร้อยละ 65.47 ค่าการทำนายถูกเมื่อผลการทดสอบเป็นลบร้อยละ 81.16 และค่าความแม่นยำในการทำนายร้อยละ 70.67 ดังนั้นจากสมการที่ได้และผลของการทดสอบสมการทำให้ทราบว่า การสูบบุหรี่ และการเคี้ยวหมาก เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในทุกๆปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปาก จากรูปแบบการศึกษาในครั้งนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินสถานการณ์ของมะเร็งช่องปากได้ค่อนข้างดี รวมไปถึงการหาแนวทางการพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากได้ต่อไป

References

1. IARC GLOBOCAN 2008. Estimated new cancercases and deaths worldwide for leading cancer sites;
2008.

2. National cancer institute. Surveillance,
epidemiology, and end results program [Internet].2010 [cited 2010 July 5]. Available from: https://
seer.cancer.gov/statfacts/html/oralcav.html.

3. Khuhaprema T, Srivatanakul P, Sriplung H,Wiangnon S, Sumitsawan Y, Attasara P. Cancer
in Thailand (2001-2003) Vol.V. J Nati cancer Inst 2010;5: 11-5.

4. Attasara P, Buasom R. Hospital-based Cancer Registries, Thailand 2009. Bangkok: National Cancer Institute department of Medical servicesMinistry of Public Health; 2010.

5. Kulchaya Loyha, Patravoot Vatanasapt, Supannee Promthet, Donald Maxwell Parkin. Risk factors
for oral cancer in Northeast Thailand. Asian pac J cancer Prev. Prev; 2012; 13(10): 5087–90.

6. James JS. Case-Control Studies: Design, Conduct, Analysis. Front Cover. Oxford University Press;1982: 368.

7. Madani AH, Jahromi AS, Madhurima Dikshit,Debanshu Bhaduri. Risk assessment of tobacco types and oral cancer. Am J Pharm Toxicol. 2010;5(1): 9-13.

8. Applebaum KM, Furniss CS, Zeka A, Posner MR,Smith JF, Bryan J, et al. Lack of association of alcohol and tobacco with HPV16-associated head and neck cancer. J Nati Cancer Inst 2007; 99(3):1801–10.

9. Boccia S, Cadoni G, Sayed-Tabatabaei FA,Volante M, Arzani D, De Lauretis A, et al. CYP1A1, CYP2E1, GSTM1, GSTT1, EPHX1exons 3 and 4, and NAT2 polymorphisms,smoking,consumption of alcohol and fruit and vegetables
and risk of head and neck cancer. J Cancer Res ClinOncol 2008; 134(1):93–100.

10. Chatterjee S, Dhar S, Sengupta B, Ghosh A, DeM, Roy S, et al. Cytogenetic monitoring in humanoral cancers and other oral pathology: themicronucleus test in exfoliated buccal cells.Toxicol Mech Methods 2009;19(6-7):427-3

11. D’Souza G, Kreimer AR, Viscidi R, PawlitaM,Fakhry C,Koch WM,et al. Case–control studyof human papillomavirus and oropharyngealcancer. N Engl J Med 2007;356:1944-56.

12. Parkin DM, Pisani P, Ferlay J. Estimates of theworldwide incidence of 25 major cancers in 1990.Int J Cancer 1999;80:827–41.

13. Simarak S, De Jong UW, Breslow N, Dahl CJ,Ruckphaopunt K, Scheelings P, et al. Cancerof oral cavity, pharynx/larynx and lung in northThailand: case--control study and analysis of cigar smoke. Br J Cancer 1977; 130-40.

14. Vatanasapt V, Sriamporn S, MacLennan R. Contrasts in risk factors for cancers of the oral cavity and hypopharynx and larynx in Khon Kaen, Thailand. In: Varma AK, editor. Oral Oncology.Vol. II: Proceedings of the International Congresson Oral Cancer. New Delhi: Macmillan India;1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15