การพัฒนารูปแบบการการจัดบริการอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์ The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon kaen* Disease Control Department
  • จรรยารักษ์ เยทส์ The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon kaen* Disease Control Department
  • เกรียงศักดิ์ หาญสิทธิพร Chaingyuen Hospital, Mahasarakam

คำสำคัญ:

การจัดบริการอาชีวอนามัย, แรงงานนอกระบบ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: การจัดบริการอาชีวอนามัยถือว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการที่จะทำให้วัยแรงงานเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน และถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คนทำงานเข้าถึงบริการที่จำเป็นและครอบคลุม แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มวัยแรงงานสามารถเข้าถึงการจัดบริการอาชีวอนามัยได้ไม่มากนักรวมทั้งวัยแรงงานในประเทศไทย ที่ผ่านมามีรูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานทั้งระดับจังหวัดและระดับตำบล แต่รูปแบบการจัดบริการฯในระดับอำเภอยังไม่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลชุมชนวิธีการ/ขั้นตอน: การศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ ดำเนินการในหน่วยบริการระดับอำเภอ3 แห่ง คือ ศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน 2556-พฤศจิกายน 2557 กิจกรรมสำคัญประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทงานและโครงสร้างการดำเนินงาน ประชุมระดมสมอง พัฒนาบุคลากร จัดตั้งคณะทำงาน ออกแบบจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและเชิงรับในโรงพยาบาล จัดระบบการเฝ้าระวังและรายงานโรค เครื่องมือที่ใช้คือแบบรายงานโรคจากการทำงาน แบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น วัดผลการศึกษาจากรูปแบบการดำเนินงาน ผลการประเมินความเสี่ยง
ผลการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ผลการคัดกรองรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกับเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่าทั้ง 3 โรงพยาบาล มีการจัดบริการอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลในรูปแบบของกรรมการโดยมีกลุ่มการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดบริการเชิงรับ และร่วมกับกลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวในการจัดบริการเชิงรุก กิจกรรมการจัดบริการฯ ประกอบด้วย 1. สำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพ 2. การตรวจสุขภาพของพนักงานในสถานประกอบการ 3. ตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร 4. การจัดทำรายงานและจัดทำระบบการคัดกรองสุขภาพในโรงพยาบาล พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมจำนวน 770 ราย ด้านการทำงานร่วมกับเครือข่ายพบว่าทั้ง 3 แห่งทำงานร่วมกับเครือข่ายภายนอกที่สำคัญคือ รพท. รพสต.ในเขตรับผิดชอบ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่ได้จัดทำแผนร่วมกัน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกร และกิจกรรมแก้ไขปัญหา
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลชุมชน ดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการโดยมีกลุ่มการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดบริการเชิงรับ และร่วมกับกลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวในการจัดบริการเชิงรุก มีกิจกรรมที่สำคัญคือการจัดบริการเชิงรุกและเชิงรับ มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่คือ รพท. รพสต. อปท. และสถานประกอบการ ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานระดับจังหวัดในเชิงนโยบาย การนิเทศติดตาม และการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันโรคทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพของประชากรวัยทำงานที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ2 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/แรงงานนอกระบบ/แรงงานนอกระบบ_2556/

2. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม.รายงานประจำปี 2556. [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/fles_storage/sso_th/e13af7d808ea7941addda331a452014d.pdf

3. Rantanen J. New concept in occupational healthservices –BOHS. [Internet]. 2010 [Cited 2018Jan 5]. Available from https://www.who.int/occupational_health/ publications/bohsbooklet.pdf.

4. โครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาคกระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ2 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pngo.moph.go.th/pngo/phocadownload/ITA/aaaaaa1.pdf

5. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. แนวทางดำเนินงานพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของหน่วยบริการสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : https://
envocc.ddc.moph.go.th/uploads/samutprakarn/1.Samrong_implement_year61.pdf

6. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค.รายงานประจำปี 2557. [ออนไลน์].2557 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://www.mediafre.com/fle/ik959otz03y-
79uz/en2557.pdf

7. Somkiat Siriruttanaruk, Koji Wada, Tsuoshi Kawakami. Promoting occupational health services for workers in the informal economy through primary health care unit. ILO AsiaPacifc Working Paper series, September; 2009.

8. ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์, พิไลลักษณ์ พลพิลา,พิเชษฐ โฉมเฉลา, จรรยารักษ์ เยทส์, โสภาพรรณ จิรนิรัติศัย. การพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ สำหรับแรงงานนอกระบบ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2556;20(2): 79-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15