การศึกษากลยุทธ์ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมและดูแลรักษา โรคพิษสุนัขบ้าในคน จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • อังษณา ยศปัญญา Loei Provincial Health Office
  • สมจิตร วิจิตรจันทร์ Loei Provincial Health Office

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, กลยุทธ์, สัตว์ปลอดโรค, การประเมินโครงการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลโดยการสำรวจเชิงปริมาณ แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลและพัฒนาแผนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในคน จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2560 ข้อมูลการดำเนินกิจกรรมตามกลยุทธ์ศึกษาจากผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรคของโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้อมูลจัดทำแผนเฝ้าระวัง ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ 2561 ได้จากผลการประเมินกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเริ่มโครงการ คะแนนเฉลี่ยการดำเนินงานใน 4 กลยุทธ์ (ยกเว้นกลยุทธ์ที่ 3) มากกว่าก่อนเริ่มโครงการทั้งในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เฝ้าระวัง และภาพรวมของจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.000)โดยก่อนเริ่มโครงการพื้นที่เสี่ยงมีคะแนนเฉลี่ย 2.33-3.75 และเมื่อเริ่มโครงการมีคะแนนเฉลี่ย 2.58-4.08 พื้นที่เฝ้าระวังก่อนเริ่มโครงการมีคะแนนเฉลี่ย 2.30-3.66 และเมื่อเริ่มโครงการมีคะแนนเฉลี่ย 2.37-4.01 การเปรียบเทียบกิจกรรมตามกลยุทธ์ต่างๆในพื้นที่พบโรคและไม่พบโรคในสัตว์ การดำเนินกิจกรรมใน 4 กลยุทธ์ (ยกเว้นกลยุทธ์ที่ 3)พื้นที่พบโรคในสัตว์มีการดำเนินงานมากกว่าพื้นที่ไม่พบโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.000) โดยคะแนนเฉลี่ยพื้นที่พบโรคอยู่ที่ 3.07-4.86 และพื้นที่ไม่พบโรคอยู่ที่ 2.29-3.81 กลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานตามโครงการคือ กลยุทธ์ที่ 1 ส่วนกลยุทธ์ที่ยากที่สุดในการดำเนินงานตามโครงการคือ กลยุทธ์ที่ 4 และกลยุทธ์ที่ 1 สามารถนำไปปรับใช้ได้กับงานควบคุมวัณโรค ส่วนกลยุทธ์ที่ 5 สามารถนำไปปรับใช้ได้กับงานควบคุมโรคเรื้อน ผลการประเมิน
กิจกรรมตามกลยุทธ์ ได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการบูรณาการแผน และได้แผนเฝ้าระวัง ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดเลย ปีงบประมาณ 2561

References

1. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซดน์; 2560.

2. กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย.สรุปผลการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อติดตามการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา
ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 10 (นายอิสระ ศิริวรภา) ครั้งที่ 2 วันที่ 25 กรกฎาคม 2560ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย อำเภอเมืองจังหวัดเลยปีพ.ศ.2560;(เอกสารอัดสำเนา).

3. กลุ่มงานพัฒนาสุขภาพสัตว์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย. สรุปผลการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อติดตามการดำเนิน
โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา
ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 10(นายอิสระ ศิริวรภา) ครั้งที่ 2 วันที่ 25กรกฏาคม2560 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลยอำเภอเมือง จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2560; (เอกสารอัดสำาเนา).

4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ผลการตรวจโรคพิษสุนัขบ้า โดยวิธีFluorescent Antibody Technique (FAT) ในสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ได้รับรองตามมาตรฐาน ISO/
IEC 17025:2005.2560; (เอกสารอัดสำเนา).

5. อังษณา ยศปัญญา, สมจิตร วิจิตรจันทร์. การพัฒนางานหลักสู่งานวิจัย ภายใต้พระปณิธานศาสตราจารย์ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ตามโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดเลย ปี พ.ศ.
2560; 2560. (เอกสารอัดสำเนา).

6. Likert, Rensis A. New Patterns of Mangement.New York; McGraw-Hill Book Company inc;1961.

7. รัตนา ธีระวัฒน์. การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาประเด็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญแก่ภาคีเครือข่ายในพื้นที่เสี่ยงเป้าหมายจังหวัดเลย วันที่ 27 ธันวาคม2560 ณ ห้องจามจุรี โรงแรมเลยพาเลซ อำเภอเมืองจังหวัดเลย; 2560. (เอกสารอัดสำเนา).

8. เอกกมล เอี่ยมศรี. ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ.[อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มกราคม2561]. เข้าถึงได้จากhttps://www.okanation.net//blog/Project Management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-15