การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • กุลชญา ลอยหา Faculty of Public Health, Ubon Ratchathani Rajabhat University
  • กรุณา จันทุม Faculty of Liberal Arts, Chaiyaphum Rajabhat University

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งในช่องปาก, พฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวกับการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก, การรับรู้ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งในช่องปาก, พฤติกรรมในการดูแลช่องปาก, พฤติกรรมการกลืนอาหารเคี้ยวอาหาร, การรับรู้รสชาติของอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ซึ่งใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) โดยสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 137 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่องปาก ที่มารับการรักษาที่แผนก หู คอ จมูก คลินิก (ENT) โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ภายในช่วงระยะเวลา 6 เดือนก่อนที่จะทำการสัมภาษณ์  และเป็นผู้ป่วยที่มีรหัสโรคอยู่ในช่วง C00-C10 (อ้างอิงตาม ICD, 10th revision โดยยกเว้น C07-C08) โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้ถูกวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคมะเร็งในช่องปากด้วยผล histological จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในระหว่างช่วงเดือนมกราคม 2555 – เดือนธันวาคม 2556 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในช่องปากส่วนใหญ่มีการรับรู้ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งในช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 57.7 มีพฤติกรรมในการดูแลช่องปากอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 90.5 ส่วนพฤติกรรมการกลืนอาหารและเคี้ยวอาหารนั้น พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงกลืนอาหาร เคี้ยวอาหาร และรับรู้รสชาติของอาหารได้ทุกอย่างตามปกติ คิดเป็นร้อยละ 86.9, 65.0 และ 45.3 ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27