ผลสะท้อนของการให้สุขศึกษาต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ ประพรมมา Phakdi Chumphon District Health Office, Chaiyaphum province

คำสำคัญ:

การให้สุขศึกษา, ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติตัว, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นแนวทางหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโดยผ่านกระบวนการให้สุขศึกษา การวิจัยนี้ต้องการสะท้อนผลการให้สุขศึกษาของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในรอบปี พ.ศ.2557 ที่ส่งผลถึงความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน อันมีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 71คน ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ช่วงเดือนธันวาคม 2557 ผลจากการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) พบว่า ความรู้และทัศนคติด้านสุขภาพต่างก็ส่งผลทางตรงต่อการปฏิบัติตัว (Coeff.=0.27; 95% CI: 0.14, 0.40 และ Coeff.=0.42; 95% CI: 0.15, 0.70 ตามลำดับ) โดยที่ความรู้และทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กัน และพบว่า การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดจากความรู้และทัศนคติยังอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 33.8) ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผล โมเดลที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value from = 0.294, RMSEA = 0.046, PCLOSE = 0.492, CFI = 0.980, TLI = 0.969) ผลการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า แนวทางการให้สุขศึกษาของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน ยังไม่สามารถเชื่อมองค์ความรู้ไปสู่การปรับทัศนคติด้านสุขภาพซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องได้ เป็นผลให้ผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลเท่าที่ควร การพัฒนาความรู้ และทักษะของบุคลากร รวมถึงการพัฒนาหรือนำโปรแกรมสุขศึกษาที่ใช้ได้ผลมาใช้ โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เป็นแนวทางหนึ่งของข้อเสนอแนะ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27