การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559

ผู้แต่ง

  • ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์ Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control
  • พจนา ธัญญกิตติกุล Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control

คำสำคัญ:

โรคเรื้อน, ประสิทธิผลการประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลนี้ใช้วิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการกำจัดโรคเรื้อน ภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 11 ในประเด็น แนวโน้มทางระบาดวิทยา ผลของกำจัดโรคเรื้อน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้เกณฑ์เป้าหมายและตัวชี้วัดขององค์การอนามัยโลกและของประเทศไทย พบว่าในภาพรวม การกำจัดโรคเรื้อนมีสัมฤทธิผลที่น่าพอใจ สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ อีกทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดที่สำคัญคือ จำนวนผู้ป่วยลงทะเบียนรักษา/อัตราความชุกต่อประชากรหนึ่ง หมื่นคน และจำนวนผู้ป่วยค้นพบรายใหม่/อัตราค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อประชากรหนึ่งหมื่นคน มีแนวโน้มลดลงสอดคล้องกัน แต่มีปัญหาท้าทายคือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดสำคัญในผู้ป่วยรายใหม่ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการค้นพบและรักษาผู้ป่วย และการแพร่ติดต่อโรคเรื้อนในชุมชน อันได้แก่ 1) จำนวนและสัดส่วนร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นเด็ก ซึ่งจำนวนลดลงแต่สัดส่วนกลับเพิ่มขึ้น 2) จำนวนและสัดส่วนร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ที่มีเชื้อมาก ซึ่งจำนวนลดลงแต่สัดส่วนกลับเพิ่มขึ้น 3) จำนวนและสัดส่วนร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ที่มีความพิการระดับ 2 ซึ่งจำนวนลดลงแต่สัดส่วนยังคงสูงค่อนข้างคงที่ และเกินเกณฑ์ 4) สัดส่วนร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ที่มารับการรักษาภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคเรื้อน พบว่ายังคงที่และต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการรับยาครบถ้วนในผู้ป่วยยังต่ำกว่าเกณฑ์รวมทั้งจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่ค้นพบในประชากรต่างด้าว ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลการประเมินเชิงปริมาณสอดคล้องกับการประเมินเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเสนอให้สร้างความตระหนักและการรับรู้เรื่องโรคเรื้อน เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยใหม่ ทบทวนการกำหนดพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพบุคลากร แนะนำพร้อมติดตามการกินยาของผู้ป่วย ดำเนินการวิจัย และพัฒนารูปแบบตลอดจนระบบการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของโครงการกำจัดโรคเรื้อนในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 ต่อไป

References

1. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส�านักพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.
2. ธีระ รามสูต. ตำราโรคเรื้อน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2535.
3. HastingRC.Leprosy.Singapore:2nded.LongmanSingapore Publishers; 1994.
4. ธีระ รามสูต. ปัญหาสังคมของโรคเรื้อน. วารสารสังคมศาสตร์การแพทย์ 2525; 3: 66-81.
5. กองโรคเรื้อนกรมควบคุมโรคติดต่อ.รายงานประจำปี 2539. นนทบุรี; 2539.
6. กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคเรื้อนและผลการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนปี 2539. นนทบุรี; 2539.
7. ธีระ รามสูต. ความก้าวหน้าและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาเคมีบำบัดผสมรักษาโรคเรื้อนแบบใหม่ขององค์การอนามัยโลก. แพทยสาร 2530; 10: 5-13.
8. World Health Organization. Chemotherapy ofleprosy for control programme. Geneva: WHO.WHO technical report series No 675;1982.
9. เดลินิวส์.อดีตโรคเรื้อนน่ารังเกียจปัจจุบันพ่อหลวงปราบสิ้น.2559ตุลาคม30[ออนไลน์].[เข้าถึงเมื่อ1 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/article/532754.
10. Pirayavaraporn C. Leprosy profle. Bangkok. TheAgricultural Co.Operative federation of ThailandLimited; 1996.
11. ธีระรามสูต.การพัฒนากลวิธีการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนภายใต้สภาวะความชุกลดลง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2539; 35(2): 124-37.
12. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน2553-2557.สมุทรปราการ;2552.
13. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค.แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (2558-2563).สมุทรปราการ; 2557.
14. World Health Organization. Enhanced globalstrategy for further reducing the disease buden dueto leprosy (Plan Period: 2011-2015). NewDelhi; 2009.
15. World Health Organization. globa lleprosy strategy 2016-2020. 2015[Internet]. [cited 2019 July09]. Available from: http://www.who.int/lep/
resources/9789290225256/en/.
16. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพ-มหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
17. ILEP. The interpretation of epidemiologicalindicators in leprosy. London; 2001.
18. ธีระ รามสูต, สมชาย รุ่งตระกูลชัย, ฉลวย เสร็จกิจ.ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มของอัตราความชุกและอัตราการค้นพบผู้ป่วยใหม่ที่เป็นจริงของประเทศไทยในระยะเวลา 14 ปี หลังกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จ (ปี 2537-2550). วารสารควบคุมโรค2552; 2: 124-37.
19. ธีระ รามสูต, ฉลวย เสร็จกิจ. ระบาดวิทยาของโรคเรื้อนหลังการกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จสมดังพระราชปณิธาน. ราชประชาสมาสัยสาร 2559; 2: 27-37.
20. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. การประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อนปี 2558. นนทบุรี.2559.
21. Ahmed J. Leprosy elimination monitoring inThailand; 5-26 December 2004; World HealthOrganization; 2004.
22. Moet FJ, Meima A, Oskam L, Richardus JH. Risk factors for the development of clinical leprosy among contacts and their relevance for targeted
interventions. Lepr Rev 2004; 75: 310-26.
23. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สรุปผลการนิเทศงานโรคเรื้อนระหว่าง พ.ศ. 2557-2560.นนทบุรี; 2561.
24. Kaimal S, Thappa DM. Relapse in leprosy. IndianJ Dermatol Venereol Leprol 2009;75:126-35.
25. Diana L. Drug-resistant leprosy: Monitoring andcurrent Status. Lepr Rev 2012; 83: 269–81.
26. Skinner D, Claassens M. It’s complicated: why dotuberculosis patients not initiate or stay adherent to treatment? A qualitative study from South
Africa. BMC infect Dis 2016; 16: 712. Doi 10.1186/s 1 2879-016-2054-5.
27. ธีระ รามสูต, ฉลวย เสร็จกิจ. ความก้าวหน้าของโครงการเฝ้าระวังและรักษาโรคเรื้อนในบุคคลและแรงงานต่างด้าว. ราชประชาสมาสัยสาร 2559; 2:38-46.
28. กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558. ประกาศณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559. นนทบุรี; 2559.
29. จรูญ ปิรยะวราภรณ์. วิวัฒนาการงานควบคุมโรคเรื้อน.ใน: กรมควบคุมโรคติดต่อ.บรรณาธิการ.รายงานครบรอบ 15 ปี กรมควบคุมโรคติดต่อ.
กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17