การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • สุทิน ชนะบุญ Sirindhorn College of Public Health Khon Kaen

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, วัณโรค, เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพื่อเปรียบเทียบความรู้ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการป้องกันและควบคุมวัณโรค และเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยการสุ่มตามเกณฑ์ จำนวน 70 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบครั้งนี้ มี 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) กิจกรรมอบรมผู้แทนวัณโรคระดับตำบล 5) กิจกรรมแจ้งข่าวเตือนภัยใส่ใจวัณโรค 6) กิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม 7) กิจกรรมเสริมพลังใจให้ผู้ป่วยวัณโรค 8) การนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน 9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้วัณโรค การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) จากการพัฒนาทำให้เกิดรูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคเบื้องต้นเรียกว่า THABO Model

สรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการมีระบบกำกับติดตามที่ดี โดยการติดตามถึงบ้านด้วยเครือข่ายที่ร่วมมือกันทั้งหน่วยบริการและชุมชน และมีการเสริมสร้างกำลังใจและใส่ใจอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

References

1. World Health Organization. Global tuberculosis report 2015. 20th ed. World Health Organization; 2015. [internet]. [cite 2017 July 25]. Available From URL: http://apps.who.int/iris/bitstream/ handle/10665/191102/9789241565059_eng.pdf?sequence=1

2. United Nations Office for Project Services. The Paradigm Shift 2016-2020 (Global Plan to End TB). Stop TB Partnership: UNOPS; 2015. [internet]. [cite 2017 July 30]. Available From URL:http://www .stoptb.org/assets/documents/global/plan/globalplantoendtb_theparadigmshift_20162020_stoptbpart nership.pdf

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค ประจำปี 2558. (เอกสารอัดสำเนา); 2558.

4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ. สรุปรายงานผู้ป่วยวัณโรคประจำปี 2559. (เอกสารอัดสำเนา); 2559.

5. สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองท่าบ่อ. รายงานประจำปี เทศบาลเมืองท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. (เอกสารอัดสำเนา); 2559.

6. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. รายงานการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรครายพื้นที่. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.

7. ศูนย์แพทย์ชุมชนท่าบ่อ1. สรุปรายงานผู้ป่วยวัณโรคประจำปี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.

8. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ.2556 (NTP Guidelines). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

9. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.

10. Kemmis S. and R. McTaggart. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria, editor. Australia: Deaken University Press; 1988.

11. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.

12. ปรียา สินธุระวิทย์, วันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาสจังหวัดสกลนคร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30(3):87–94.

13. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, สุพร กาวินำ. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558;10(1):1–14.

14. มณีรัตน์ อวยสวัสดิ์. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคอย่างมีส่วนร่วม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

15. พิสิษฐ์กร โพธิ์ศรี, พรทิพย์ คำพอ. การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน : ชุมชนเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. 2555;12(2):42–56.

16. สายทิพย์ ผลาชุม, พัชรี หลุ่งหม่าน, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. การพัฒนาสมรรถนะการป้องกันวัณโรคสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2):307–19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30