ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ป่วยเบาหวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จตุพร ฤกษ์ตระกูล
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Unmatched case-control มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงกับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ศึกษาจากชุดข้อมูลดิบ (Data set) ที่ถูกรวบรวมไว้ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2557 จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดยโสธร หนองคาย บุรีรัมย์ สกลนคร ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 2,382 คน ซึ่งแบ่งเป็น  2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยเป็นวัณโรคปอด (Case) จำนวน 786 คน และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ป่วยเป็นวัณโรคปอด (Control) จำนวน 1,596 คน วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงเดี่ยว โดยใช้สถิติ Simple logistic regression หาขนาดความสัมพันธ์ใช้ Odds ratio (OR) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรพหุ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression แสดงผลด้วยค่า Adjusted odds ratio (OR ) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% CI )

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,382 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 57.43 อายุเฉลี่ย 59.12 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.89) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรพหุ ด้วยสถิติ Multiple logistic regression พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอด ได้แก่ เพศชาย (OR  = 1.49, 95 % CI = 1.22-1.82 ) การว่างงาน (OR   = 1.33, 95 % CI = 1.01-1.75) รายได้ที่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน (OR   = 1.51, 95 % CI = 1.21-1.89 ) ผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 kg/m2  (OR   = 2.58, 95 % CI = 1.87-3.55 ) การสูบบุหรี่ (OR  = 1.45, 95 % CI = 1.16-1.81 ) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (OR   = 1.85, 95 % CI = 1.25-2.74 ) ระดับน้ำตาลในเลือด HbA > 7.0 % (OR   = 2.66, 95 % CI = 2.09-3.38 ) ประวัติการป่วยด้วยวัณโรค (OR  = 11.71, 95 % CI = 7.20-19.02 ) การมีผู้ป่วยสัมผัสร่วม (OR   = 3.72, 95 % CI = 2.83-4.86 )

           สรุปจากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรควัณโรค อันเป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยควรมีการเฝ้าระวัง และคัดกรองโรคในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงผู้ป่วยในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ส่งเสริมศักยภาพในการเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทั้งในระดับโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ

References

1. นิรมล พิมน้ำเย็น. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะตับอักเสบก่อนการรักษาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย.รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559

2. World Health Organization. Tuberculosis & Diabetes.[online].2016 [cited 2017 September 30].Available form: http://www.who.int/tb/publications/diabetes_tb.pdf

3. สำนักวัณโรค. วัณโรคปอด [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึง 23 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttp://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnewshow_hotnew.php?idHot_new=808

4. นิลวรรณ นิมมานวรวงศ์. วัณโรค.[ออนไลน์].2560 [เข้าถึงเมื่อ2ต.ค2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.pobpad.
com/วัณโรค

5.ประยูร แก้วคำแสน, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2556; 6(3): 90-99

6.พัฒนโชค โชคสวัสดิ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554;18(1): 38-72.

7.ภานุวัฒน์ บุญโญ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดยโสธร.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(3): 45-53.

8.สุขสมประสงค์ ดีไชยรัมย์, พรนภา ศุกรเวทย์ ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่5จังหวัดนครราชสีมา2557; 20(3): 30-40.

9.สุรชัย กิจติกาล, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(4): 124-31.

10.สมพร ขามรัตน์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น2557; 22(1): 22-32.

11.สิริพรรณ ไตรทิพย์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยวัณโรค ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา 2557; 17(2): 251-263.

12.กิตติศราวุฒิ ขวัญชารี, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ,กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อในผู้ป่วยเบาหวานของประเทศไทย: การวิเคราะห์เมตา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23(3):1-11.

13.ชาติชาย หุตะวัฒนะ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนครราชสีมา[ปริญญาวิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

14. Leung CC, Lam TH, Chan WM, Yew WW, Ho KS, Leung GM, et al. Diabetic control and risk of tuberculosis: a cohort study. Am J Epidemiol 2008; 167(12): 1486–94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27