บทเรียนความเป็นไปได้การให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ ศิริภานุมาศ Planning Division, Department of Disease Control

คำสำคัญ:

การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านสุขภาพ, พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2556

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านสุขภาพ รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนโครงการภายใต้พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 รูปแบบเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ขั้นตอนประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารด้วยการสุ่มแบบเจาะจงจากผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านสุขภาพจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูลและประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็นตามหลักวิชาการ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้     

          ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งได้แก่ นโยบายการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnerships - PPPs) ของกระทรวงสาธารณสุข กระบวนงานและขั้นตอน ทีมผู้เชี่ยวชาญที่สนับสนุนเชิงวิชาการและความตั้งใจของทีมผู้ปฏิบัติ สำหรับจุดอ่อนได้แก่ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับแนวคิดและกระบวนการของ PPPs

          ผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านสุขภาพโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) มี 3 จาก 7 โครงการที่มีความเป็นไปได้สำหรับผู้ลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทน ซึ่งโครงการดังกล่าวควรมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีความร่วมมือภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

ข้อสรุปบทเรียนความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพของประเทศไทยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จคือ ความชัดเจนและต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ ประกาศแนวทางปฏิบัติและแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2560-2564 นโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารมีนโยบายชัดเจน ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันให้เกิดโครงการร่วมลงทุนฯภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ รวมถึงการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงฯ  จากการศึกษาพบว่าความร่วมมือภาครัฐและเอกชนยังไม่ค่อยมีความคืบหน้า กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องดำเนินการให้มีเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และระยะเวลาที่ชัดเจน รวมทั้งวิธีการที่สามารถวัดผลทำให้บรรลุเป้าหมาย การจัดการให้มีผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านการออกแบบและสร้างสรรค์โครงการ (Project design and creativity) การพัฒนาธุรกิจ (Business development) การจัดการทุนและการลงทุน (Capital and investment management) การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment: ROI) ผลประโยชน์สุทธิ (Net present value: NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return - IRR) การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้าน PPPs การจัดตั้งหน่วยงานหรือกลไกการเจรจาธุรกิจ (Transaction body or mechanism) เพื่อให้โครงการเอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพเป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยในระยะยาว

References

1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. รายการโครงการในกิจการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558 – 2562. [ออนไลน์ ]. [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2560] เข้าถึงได้จาก http://www.ppp.sepo.go.th/ppp/events/events2.php?id=29

2. กองส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง.พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13 ตอน 31 ก.[ออนไลน์ ]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.mof.go.th/home/projectM/accmaster/doc4/PPP/PPP56.pdf

3. กองส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง. พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอน 74 ก.[ออนไลน์ ]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.mof.go.th/home/projectM/accmaster/doc4/PPP/PPP56.pdf

4. ธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB). รายงานยุทธศาสตร์หุ้นส่วนการพัฒนาระดับประเทศระหว่างประเทศและธนาคารพัฒนาเอเชีย ประเทศไทย 2556-2559,2560.

5. Asian Development Bank, Public-Private Partnerships Handbook. Manila: ADB,2008:13-14

6. กิตติ ทรัพย์ประสม. การศึกษารูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน(Public-Private Partnership: PPP) สำหรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก: รายงานหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 15. สถาบันประปกเกล้า,2559.

7. ทวีเกียรติ เจนประจักษ์.นโยบายและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเทศไทย: กรณีศึกษาตัวแบบของสวิตเซอร์แลนด์.รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 6 ปี 2557 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ,2557.

8. The Department of Transporttation (USDT) The United States. User guidebook on implementing public-private partnership for transportation infrastructure project in the United States. Final Report. Arlington,VirginiaAecom Consult,2007.

9. Waddock S.A. Development of public-private partnerships : An empirical and conceptual study. Boston :University,Boston,1985.

10. กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา.การบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557.

11. Cheung E, Chan A, Lam P, Chan D, Yongjian K. A Comparative Study of Critical Success Factors for Public Private Partnerships (PPP) between Mainland China and the Hong Kong Special. Administrative Region 2012; 30(1) : 647-666.

12. เพ็ญแข ลาภยิ่ง.ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนในระบบสุขภาพ:แนวคิด หลักการ และประสบการณ์ต่างประเทศ. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)เพื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2552.

13. จุไรลักษณ์ เอี้ยวพันธ์ และสาวิตรี วาระคำ.การวิเคราะห์การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน(Public Private Partnership : PPP).สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ฉบับที่ 3/2559. 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03