ธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • นราฤทธิ์ เอี่ยมศิริ

Keywords:

PERFORMING ARTS BUSINESS, SALES PROMOTION CAMPAIGN, LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC

Abstract

The main objective of this study was to investigate the performing arts business in Lao People’s Democratic Republic in order to devise appropriate to promote sales of and investment in performing arts there so that they could enhance the images of the products and organizations; as a result, their performances including those staged during the traditional merit-marking festivals were profitable. The findings revealed that there were some changes in performing arts that have been observed and practiced as part of Laos’ cultures, in the socio-economic condition in Vientiane because of the influence of foreign cultures and being accepted as an Asian member. The performing arts have been improved; however, such improvement are not against Lao people’s moral and cultural perceptions. The Lao performing arts can be categorized as folk dances, tribal dances, royal court dances and creative dances based on Lao culture. The inclusion of foreign performances played a role in sale promotion campaigns, thus generating more income and more job opportunities. These findings can benefit those who would like to further study the performing arts business in Laos.

Author Biography

นราฤทธิ์ เอี่ยมศิริ

การศึกษาวิจัยธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการแสดง ประเภทการแสดง ในนครหลวงเวียงจันทน์ ธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขาย การลงทุน เพื่อเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าและองค์กรให้เกิดผลประโยชน์ผลกำไรในการจัดงาน รวมไปถึงการจัดการแสดงในงานบุญประเพณีของชาวลาวที่สืบทอดกันมา ผลจากการศึกษาของผู้วิจัยในครั้งนี้ เพื่อให้เห็นสถานภาพการเปลี่ยนแปลงของการแสดงนาฏศิลป์ที่ยังคงยึดถือประเพณีวัฒนธรรมสืบทอดมา การเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจสังคมในนครหลวงเวียงจันทน์ การรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ การก้าวเข้าสู่สมาชิกสมาคมอาเซียน การแสดงนาฏยศิลป์ได้มีการพัฒนาและยังคงอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไม่ผิดต่อศีลธรรมวิถีชีวิตของชาวลาว ประเภทของการแสดง การฟ้อนแบบพื้นเมือง การฟ้อนชนเผ่า การฟ้อนราชสำนัก การแสดงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่ยังคงอยู่บนพื้นฐาน
ของวัฒนธรรมในชาติ การผสมผสานการแสดงของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เกิดการจ้างงานมีอาชีพและรายได้ ซึ่งเป็นปัจจัยอันสำคัญ ที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาเชิงวิชาการ เรื่องธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและให้ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการ เกี่ยวกับธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อไป

References

ขนิษฐา โตเลี้ยง และ สุวิมล อุตอามาตย์. (2556). 100 เรื่องน่ารู้ในลาว. กรุงเทพฯ:สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน): สำนักพิมพ์อมรินทร์คอมมิกส์.
คมปัญญา เพ็งวิไนยา, สัมภาษณ์, 8 พฤศจิกายน 2559
วิทย์ บัณฑิตกุล.(2555). สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊ค.
อาณัติ อนันตภาค. (2558). ประวัติศาสตร์ลาว ดินแดนแห่งหุบเขาและความเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำกัด

Downloads

Published

2018-06-29

How to Cite

เอี่ยมศิริ น. (2018). ธุรกิจการแสดงนาฏยศิลป์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 22(1), 99–108. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/208807