ภาวะผู้นำทางศิลปศึกษา

Authors

  • Korakot Phaetlakfa

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ศิลปศึกษา, leadership, art education

Abstract

องค์กรทางศิลปศึกษาเป็นองค์กรที่ต้องอาศัยผู้นำที่มีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำพาผู้คนและองค์กรฝ่าวิกฤตให้รอดพ้นไปให้ได้ โดยไม่ยึดติดหรือจมอยู่กับความคิดความเชื่อและวิธีการบริหารจัดการที่เป็นความเคยชินในอดีต ในบทความนี้หมายถึงผู้ที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่เข้าใจและเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวิกฤตทางศิลปศึกษาซึ่งได้แก่กลุ่มผู้บริหารจัดการองค์กรทางศิลปศึกษา วิกฤตทางศิลปศึกษาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบันผนวกกับความเชื่อผิดๆของคนที่อยู่ในแวดวงศิลปศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิกฤตทางศิลปศึกษานั้นเกิดขึ้นทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กรทางศิลปศึกษาและวิกฤตทางด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปศึกษา ซึ่งวิกฤตต่างๆเหล่านี้ต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีภาวะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำพาผู้คนและองค์กรขับเคลื่อนฝ่าวิกฤตให้รอดพ้นไปได้อย่างยั่งยืน ผู้นำทางศิลปศึกษาที่กล่าวถึงนี้ไม่จำเป็นจะต้องมีตำแหน่งสูงสุดขององค์กรเสมอไป แต่อาจหมายถึงผู้ที่อยู่ตรงกลางขององค์กรทุกคน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้าสาขาวิชา หรือครูผู้สอนศิลปศึกษาทุกคน

Leadership in Art Education

Art education organization needs the leader possessing leadership in management and showing broad vision who can lead others and organization to successfully overcome crisis without clinging on or being stuck with usual belief and routine administration method. This article specifically refers to such leader who is well aware of and willing to explore into such challenges seen as crisis in art education which include those organization executives. Crisis in art education has rooted from swift and diversified changes in Thai and global society. It has been exacerbated with fault belief of those working in the field of art education or other relevant personnel. Art education crises can be seen either in the management of art education organization or in learning management in art education. These crises need such broad-vision leader who can lead his co-worker and the organization to survive the crises sustainably. Such person is not necessarily or always required to be in the top position of that organization but it can be such in the center of the organization surrounded by several people e.g. head of program, head of division or art education instructor. 

Downloads

How to Cite

Phaetlakfa, K. (2016). ภาวะผู้นำทางศิลปศึกษา. Fine Arts Journal: Srinakharinwirot University, 20(2), 56–68. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jfofa/article/view/92904