Tha Searching and the System of Ancient Scriptures Conservation in Monateries and Transmitting Local of Lower Nothern Part to Create the Local Learning Resource in the Lower Nothern Provincial Cluster

Main Article Content

พระมหาธนกร กิตฺติปญฺโญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการศึกษาในภาคสนาม (Field Study) เพื่อการดำเนินการวิจัย การสืบค้นการจัดระบบการอนุรักษ์และการปริวรรตเอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและการถ่ายทอดภูมิปัญญาภาคเหนือตอนล่าง เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ การดำเนินการวิจัยและการสืบค้น การจัดระบบการอนุรักษ์ และการปริวรรตคัมภีร์โบราณภาคเหนือตอนล่าง


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ได้ศึกษารวบรวม และจัดหมวดหมู่เอกสารคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาของวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ใน 2 จังหวัด คือ (1) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2 วัด คือวัดเขาแก้ว ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์ เป็นมัดรวมได้ 456 มัด เบื้องต้นได้ทำการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดและนับจำนวนได้ 7,221 ผูก พร้อมกับทำการแยกฉบับ จัดทำบัญชีคัมภีร์ใบลาน เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์ใบลาน ได้ดำเนินการจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และดำเนินการอนุรักษ์เบื้องต้น โดยเริ่มจากการ นำคัมภีร์ใบลานออกมาทำความสะอาด  ตรวจสภาพ และวัดบ้านแก่ง ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดรวมได้ 147 มัด 1647 ผูก เบื้องต้นได้ทำการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดและนับจำนวนผูก แยกตามหมวดได้ 11 หมวด ดังนี้ 1. หมวดกฎหมาย  2. หมวดคณิตศาสตร์     3. หมวดจดหมายเหตุ 4. หมวดเบ็ดเตล็ด 5. หมวดตำราแปรธาตุ 6. หมวดตำราเวชศาสตร์    7. หมวดตำราไสยศาสตร์ 8. หมวดตำราโหราศาสตร์ 9. หมวดธรรมคดี  10. หมวดวรรณคดี    11. หมวดอักษรศาสตร์ 5 เล่ม และรวมหนังสือสมุดไทย  พร้อมกับ ทำการแยกฉบับและใช้ผ้าห่อคัมภีร์นำเก็บใส่ตู้  (2) จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 4 วัด คือ 1. วัดโฆษา ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดรวมได้ 163 มัด 2. วัดท่ากกแก ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดรวมได้ 46 มัด 3. วัดราษฎร์ประดิษฐ์วราราม ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดรวมได้ 59 มัด (4) วัดโพธิ์กลาง ได้ดำเนินการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดรวมได้ 28 มัด ทุกวัดได้ทำการคัดแยกคัมภีร์เป็นมัดและนับจำนวนผูก พร้อมกับทำการแยกฉบับและใช้ผ้าห่อคัมภีร์นำใส่ตู้

  2. 2. พัฒนาระบบการสืบค้นและดรรชนีค้นคำของเอกสารคัมภีร์โบราณทางพระพุทธ ศาสนาของวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง

  การพัฒนาบัญชีบริการคัมภีร์ใบลาน เป็นบัญชีของคัมภีร์ใบลานที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการลงทะเบียนคัมภีร์ใบลานเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าศึกษาค้นคว้าตามระเบียบการบริการเอกสารโบราณ     


  1. ได้ส่งเสริมการอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธ ศาสนาและวัฒนธรรมของวัดในเขตภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 วัด คืออนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน แบบยั่งยืน ฉบับวัดโฆษา เป้าหมายหลัก คือ ทำอย่างไรประชาชนมีความสุขด้วยการประพฤติธรรม และนำความสุขนั้นเผยแผ่ต่อคนรุ่นหลังได้รับความสุขนั้นอย่างต่อ เนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ทางวัดโฆษาได้มีนโยบายตาม กลยุทธ์ในการดำเนินงาน ซึ่งจะขอขยายความดังนี้ 1. ด้านการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน 2. ด้านการบริหารจักการอย่างเป็นระบบ 3. การอนุรักษ์ (สมาธิ) โดยเป้าหมายเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และเข้า ถึงเนื้อหาในคัมภีร์ธรรม 4. ด้านการจัดทำแหล่งเรียนรู้และสร้างเครือข่าย 5. ด้านการถ่ายทอดและเผยแพร่ กระบวนการอนุรักษ์ฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของวัดท่ากกแก บ้านท่ากกแก ได้รับความร่วมมือจากผู้สูงอายุในหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังได้ชักชวนกลุ่มผู้นำชุมชนเยาวชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้ามาเป็นกลุ่มขับเคลื่อนในการฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ก็ถือเป็นกำลังหลักในการเข้ามาผลักดันกระบวนการฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านท่ากกแก ให้เป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีขั้นตอนในการฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ได้ ปริวรรตคัมภีร์อานิสงส์ปราสาทผึ้งอักษรธรรมอีสานเป็น ภาษาบาลีและภาษาไทยกลาง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)