การวิเคราะห์ส่วนประกอบของรูปคำในจารึกพะเยา

Main Article Content

ธัช  มั่นต่อการ

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์ส่วนประกอบของรูปคำในจารึกพะเยาซึ่งส่วนประกอบของรูปคำในจารึกพะเยามีความแตกต่างจากรูปคำในปัจจุบันมากพอสมควร การศึกษาวิเคราะห์ในครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดประเด็นการศึกษาไว้ 3 ประเด็น คือ รูปคำที่มีส่วนประกอบ 1 ส่วน รูปคำที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วน และรูปคำที่มีส่วนประกอบ  3 ส่วน ผลการศึกษาพบว่า รูปคำที่มีส่วนประกอบ 1 พบ 19 รูป แบ่งเป็น รูปพยัญชนะ 7 รูป รูปสระ 2 รูป และรูปตัวเลข 10 รูป รูปคำที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วน พบ 202 รูป แบ่งเป็นรูปพยัญชนะ+รูปวรรณยุกต์ จำนวน 25 รูป รูปพยัญชนะ+ รูปสระ จำนวน 140 รูป รูปพยัญชนะ+รูปนิคหิต จำนวน 22 รูป และรูปพยัญชนะ+รูปพยัญชนะ จำนวน 15 รูป รูปคำที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วน พบ 237 รูป แบ่งเป็นรูปพยัญชนะ+รูปสระ+รูปพยัญชนะตัวสะกด จำนวน 220 รูป รูปพยัญชนะ+ รูปสระ+รูปสระ จำนวน 15 รูป รูปพยัญชนะ+รูปสระ+รูปวรรณยุกต์ จำนวน 2 รูป   

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

ธัช  มั่นต่อการ

อาจารย์ธัช  มั่นต่อการ

ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

References

กรรณิการ์ วิมลเกษม. (2524). อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำลอง สารพัดนึก. (2544). บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ชญานุตม์ จินดารักษ์. (2546). การเชื่อมโยงความในจารึกล้านนา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธวัช ปุณโณทก. (2549). อักษรไทยโบราณลายสือไทย และวิวัฒนาการอีกษรของชนชาติไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____________. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นววรรณ พุนธุเมธา. (2554). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

_____________. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2556). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. นนทบุรี: สัมปชัญญะ.

วชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา). (2507). บาลีไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2544). ทฤษฎีไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ : วิวัฒนาการภาษาไทย และภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีสุนทรโวหาร (พระยา). (2449). มูลบทบรรพกิจ. พิศาลบรรณนิต์: ม.ป.ท.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2538). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: มติชน.

_____________. (2538). ประวัติศาสตร์ สังคมและทางวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2546). ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.