ฉือจี้: จิตสาธารณะคุณลักษณะแห่งเมตตาธรรมค้ำจุนโลก

Main Article Content

พลพจน์  เชาว์วิวัฒน์
สุรีย์พร  แซ่เอี๊ยบ

บทคัดย่อ

              ฉือจี้เป็นองค์กรของชาวพุทธมหายานในไต้หวันที่ทำงานอย่างเสียสละเพื่อสาธารณะไปทั่วโลกด้วยความเมตตากรุณาที่ออกจากจิตใจข้างในดังพระโพธิสัตว์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อโลก จิตสาธารณะทำให้สังคมน่าอยู่ ผู้มีจิตสาธารณะมีความสุขและมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นที่รักของผู้อื่น เพราะมีจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาอันเป็นธรรมค้ำจุนโลก เมตตาหมายถึงความรัก ความปรารถนาให้เขามีความสุข โดยเฉพาะการมีเมตตาต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มีความมุ่งดี ให้คงอยู่ในสภาพที่ดี จิตสาธารณะผู้เสียสละด้วยเมตตาธรรมย่อมได้ชื่อว่านักอนุรักษ์ธรรมชาติ การทำงานของมูลนิธิฉือจี้ จิตสาธารณะทุกคนมีความจริงใจตั้งมั่นในเมตตากรุณาเป็นแบบอย่างองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมช่วยทำให้โลกน่าอยู่ ผลที่ได้รับนั้นคือความสุขสงบร่วมกันทั้งจิตสาธารณะผู้เอื้ออารีและบุคคลอื่น ด้วยกิจกรรมที่ดำเนินบนพื้นฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบไปสู่ทุกๆ ชีวิตบนโลกใบนี้ เพียงแต่แค่ทุกคนยื่นมือออกไปเป็นผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมีคุณค่า ด้วยจิตใจที่เสียสละเป็นเมตตาธรรมต่อสิ่งแวดล้อม ผู้มีจิตสาธารณะทุกคนก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการช่วยกันค้ำจุนโลกของเราเองให้งดงามยิ่งขึ้น ทุกคนก็จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยความสงบสุขสืบไป

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

พลพจน์  เชาว์วิวัฒน์

นายพลพจน์  เชาว์วิวัฒน์

นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธจิตวิทยา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

E-Mail:  [email protected]

สุรีย์พร  แซ่เอี๊ยบ

ดร.สุรีย์พร  แซ่เอี๊ยบ

พร.ด. (พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

E-Mail:   [email protected]

References

ฉือจี้. (2560). มูลนิธิพุทธฉือจี้. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://tzuchi.ac.th/th/index.php/ typography/2014.

ฉือจี้. (2560). ฉือจี้ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://www.tzuchithailand.org.

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนจิตอาสา ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม: กรณีศึกษา สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9). (2560). เมตตาธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://www1.onab.go.th/index.php?option=com.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสุขภาพไทย. (2560). มูลนิธิพุทธฉือจี้ ความประทับใจที่ไม่รู้ลืม. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก https://www.thaihof.org/main/ article/ detail/2537.

ราชกิจจานุเบกษา, (2559). ประกาศ เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก 30 ธันวาคม 2559.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://www.royin.go.th/dictionary.

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่. (2560). ประวัติโรงเรียน โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://tzuchi.ac.th/th/index.php/typography/2014-06-18-01-52-50

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2560). มูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/tocare/2007/09/17/entry-3.

สรณีย์ สายศร. (2556). การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2550). ทานและการอาสาสมัคร. มติชน. 18 มิถุนายน 2550. หน้า 3.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2546). “จิตสำนึกสาธารณะ การก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง”. วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์. 4(1). 1-13.

สุรัตน์ ขวัญบุญจันทร และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1). 50-64.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2542). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

อำพล จินดาวัฒนะ. (2560). บทความพิเศษ : จิตอาสา พลังสร้างโลก บทเรียนรู้จากขบวนการพุทธฉือจี้ไต้หวัน ขบวนการที่เน้นหัวใจของความเป็นมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก https://www.vitheebuddha.com/main.php?url=%20news_view&id%20=200&cat=C.

Blogger. (2560). ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก http://aillonemio123.blogspot.com/2012/12/blog-post.html?m=1

TDRI. (2560). 5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับชาติโจทย์ใหญ่ท้าทายพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560 จาก https://tdri.or.th/2016/08/2016-08-14/.