การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ประหยัด ธุระแพง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • ปุริมพรรษ มหาเสนา โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • เรืองศิริ ภานุเวศ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • ศิริรัตน์ อินทรเกษม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดบ้าน, ผู้ป่วยติดเตียง, คะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนี Barthel ADL Index

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และ ติดตามศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยติดติดเตียงที่มี ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 ทั้งหมด 35 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิง พรรณนา และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Barthel ADL Index ก่อนและหลังการพัฒนา ระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง โดยค่าทีแบบจับคู่ (Paired t-test) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มศึกษา มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 63.3 ปี (SD=22.5) มีสาเหตุของการป่วย ติดเตียงมากที่สุดคือ สูงอายุเท่ากับ 23 คน (ร้อยละ 65.7) ระบบการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ได้รับ การพัฒนามีกิจกรรมคือ พัฒนาแนวทางปฏิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูล พัฒนาสมรรถนะของทีมสุขภาพ ครอบครัวและสร้างมีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง หลังการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติด เตียง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนี Barthel ADL Index เพิ่มขึ้น 2.6 คะแนน (95%CI: 1.4 – 3.6) อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ (p<0.001) ผู้ป่วยที่มี ภาวะแทรกซ้อนลดลง 11 คน คิดเป็นร้อยละ 31.4 การเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p=0.005)

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง_ประเมินผู้สูงอายุ. 2558. สืบค้น 5 มกราคม 2561, จาก http://agingthai.dms.moph.go.th/agingthai/download.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์ นิสาชล นาคกุล และวิชญา โรจนรักษ์.สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี | Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2016. สืบค้น 27 มีนาคม 2018, จาก https://tcithaijo.
org/index.php/tnaph/article /view/65677

ระพีพร วาโยบุตร และ พิมพา สุตรา . การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและชุมชน บ้านหนองโดน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Nursing Division-วารสารกองการพยาบาล 2561, 41(2). สืบค้น จาก http://thailand.digitaljournals.org/tdj/index.php/JND/article/view/3038

ศิริรัตน์ ปานอุทัย ทศพร คำผลศิริ และลินจงโปธิบาล. รายงานการวิจัย การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองไม่ได้. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

ศูนย์ข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขหนองบัวลำภู. ข้อมูลและสถิติสาธารณสุขที่สำคัญ จังหวัดหนองบัวลำภู. 2560. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://wwwnpo.moph.go.th/#

ศูนย์แพทย์ชุมชน. ข้อมูลการเยี่ยมบ้าน. 2560. สืบค้น 5 มกราคม 2561, จาก http://www.govesite.com/Pccnb/document.php

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา และปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. Thai Journal of Nursing Council; 2557, 29(4), 22–31.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. 2561. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2018, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Gazette.aspx

สำนักการพยาบาล. เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน. 2557. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.nursing.go.th/Book_nurse/Homevisit/01.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). ดึงคนแก่ ”ติดบ้าน” ดูแลผู้ป่วย ”ติดเตียง” 2558. สืบค้น 25 มกราคม 2018, จาก https://www.nationalhealth.or.th/node/485

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. 2558. สืบค้น 27 มีนาคม 2561 จาก http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/env/download/bkWeb/book/i002.pdf

Alhuwail, D., Koru, G., & Nahm, E.-S. How Can Home Care Patients and Their Caregivers Better Manage Fall Risks by Leveraging Information Technology? Journal of patient experience; 2016, 3(4), 137–144. https://doi.org/10.1177/2374373517690286

Carrier, J. Managing Long-term Conditions and Chronic Illness in Primary Care : A Guide to Good Practice (Second edition). London: Routledge; 2016.

Daaleman, T. P., & Helton, M. R. Chronic Illness Care : Principles and Practice. Cham, Switzerland: Springer; 2018.

Waverijn, G., Heijmans, M., & Groenewegen, P. P. Chronic illness self-management: a mechanism behind the relationship between neighbourhood social capital and health? European Journal of Public Health; 2017, 27(4), 594–599. https://doi.org/10.1093/eurpub/ckw185

Welch, G. L., & Harrist, A. W. Family Resilience and Chronic Illness : Interdisciplinary and Translational Perspectives. Switzerland: Springer; 2016.

WHO | World Health Organization. 2015. สืบค้น 9 มิถุนายน 2018, จาก http://www.who.int/gho/ncd/en/

Withnall, A. Learning to Live with Chronic Illness in Later Life: Empowering Myself. Australian Journal of Adult Learning; 2017, 57(3), 474–489

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018