ความรอบรู้ทางสุขภาพกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฝนทิวา โคตรนาลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ลาพึง วอนอก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วรรณศรี แววงาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายปัญหาการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ความรอบรู้ทางสุขภาพกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ จากกลุ่มตัวอย่าง จานวน 349 ราย โดยการสุ่มแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม นาเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่าสุดและค่าสูงสุด ในการอธิบายปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความรอบรู้ทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ปลาย ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัด ชัยภูมิ ส่วนใหญ่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 58.45 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.90 และมีเพศ ชายร้อยละ 34.10 มีอายุเฉลี่ย 16.48 ปี อายุสูงสุด 18 ปี ต่าสุด 14 ปี การศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปลาย ส่วน ใหญ่ศึกษาอยู่ชั้น ม.6 แหล่งทุนสาหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาส่วนใหญ่ได้จากบิดา มารดา ร้อยละ 85.10 รายได้เฉลี่ยของครอบครัว โดยส่วนมาก ร้อยละ 31.52 รายได้ของครอบครัวอยู่ระหว่าง 10,000 บาท ถึง 19,999 บาท/เดือน รายจ่ายเฉลี่ยของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ที่ระหว่าง 10,000 บาท ถึง 19,999 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 36.96 รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง ส่วนมากร้อยละ 56.73 ได้รับรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท/ เดือน ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 49.28) ความรอบรู้ทาง สุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 39.26) ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านทักษะการสื่อสารพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.00) ความรอบรู้ ทางสุขภาพด้านทักษะการตัดสินใจพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 41.83) และความฉลาดทางสุขภาพ ด้านทักษะการจัดการตนเอง พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 55.87) ข้อเสนอแนะ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสูง ควรจัดกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นภายใน สถานศึกษา ในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้แก่ การกีฬา การดนตรี

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

กัณต์กนิษฐ์ ผลแจง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

World Health Organization. (2014) Global status report on alcohol and health 2014. Geneva: World Health Organization.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครอบครัวไทย. กรุงเทพฯ: วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(2).

Hsieh, Y.F., Bloch, A.D., & Larsen, D.M. (1998). A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in Medicine, 17,1623-1634.

Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16, 297-334.

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน). (2557). ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560. จาก http://www.bangkokhealth.com/health/article/

อ้อมฤทัย พรมพิมพ์. (2559). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการดื่มสุราของชายวัยทำงานในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018