TY - JOUR AU - ชมภูพาน, วรางคณา PY - 2018/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนารูปแบบการสอนโดยขั้นตอนของกาเย่กับการเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เรื่องการดูแลมารดาและทารกในภาวะคลอดปกติ, คลอดฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกเกิด JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 1 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/197916 SP - 71-85 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการใช้ขั้นตอนการจัดเรียน การสอนโดยขั้นตอนกาเย่กับการเรียนแบบผสมผสานสาหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปวส.ฉพ.) ชั้นปีที่ 2 เรื่องการดูแลมารดาและทารกในภาวะคลอดปกติ คลอด ฉุกเฉินและการดูแลทารกแรกเกิด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อ การเรียนการสอนฯ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ 4 คน และนักศึกษาหลักสูตร ปวส.ฉพ. จานวน 30 คน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2559 พบว่า ใช้การเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนและเอกสารเป็นส่วนใหญ่ ระยะที่ 2 การ ตรวจสอบและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนฯ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบความตรง ภายในรูปการสอนของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 คนคือด้านเนื้อหา ด้านหลักสูตรรวมถึงการเรียนการ สอน และประเมินผล ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความตรงภายนอกรูปแบบการสอนใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่ง เป็นการศึกษากลุ่มเดียว ความสอดคล้อง 0.75 ค่าความความเชื่อมั่น 0.82 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา หลักสูตร ปวส.ฉพ. จานวน 30 คน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ตั้งแต่เดือน กันยายน 2560 – ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอน โดยการใช้ขั้นตอนการจัดเรียนการสอนฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนการ สอน แบ่งเป็น 2 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการก่อนจัดการเรียนการสอน และขั้นการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนของกาเย่ 5) การวัดและประเมินผล 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อน เรียน โดยค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 4.89 (95% CI: 4.33-5.46) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ p&lt;0.001 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง</p> ER -