TY - JOUR AU - พรหมรักษา, กานต์ธีรา AU - โพธิ์อ่ำ, อมรศักดิ์ PY - 2019/11/11 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่ JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/224517 SP - 38-51 AB - <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่ กลุ่มประชากรคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 144รายคำนวณขนาดตัวอย่างได้จำนวน 116 รายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.907 วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p><p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยบริหารประกอบด้วยด้านกำลังคน ด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}"> =2.72, S.D.=0.44) ด้านกระบวนการบริหารประกอบด้วยด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการบังคับบัญชาสั่งการ ด้านการประสานงานและด้านการควบคุมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=2.72, S.D.=0.44) ระดับการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=2.72, S.D.=0.44) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.385, p-value=0.001, r=0.463, p-value&lt;0.001) ตามลำดับ ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้การสนับสนุนปัจจัยการบริหารอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์การควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยงาน</p> ER -