TY - JOUR AU - บุดดาน้อย, ธิติ AU - ชนะบุญ, สุทิน AU - กาลเขว้า, เบญญาภา PY - 2019/11/11 Y2 - 2024/03/29 TI - พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน JA - J Health Sci Comm Publ Health VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/224816 SP - 139-152 AB - <p>การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง&nbsp; จังหวัดขอนแก่น จำนวน 285 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.5 นำไปทดลองใช้และหาความเที่ยง หมวดความรู้มีค่า 0.72&nbsp; หมวดทัศนคติ มีค่า 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-Square Test , Odds Ratio และ 95 % CI</p><p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนเคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 29.1 (95% CI:&nbsp; 23.91 to 34.77)&nbsp; มีการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ร้อยละ 18.2 (95% CI: 13.93 to 23.22) มีความรู้เรื่องบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.5โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.56 คะแนน (S.D.=2.11 )มีทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.3 โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 คะแนน (S.D.= 0.47) และปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่อายุมากกว่า 15 ปี (OR=4.77, 95%CI: 2.30 to 9.78, p-value &lt;0.001)ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่3เทียบกับปีที่ 1(OR=3.95, 95%CI: 1.68 to 9.85, p-value = 0.002) มีบุคคลใกล้ชิดที่สูบบุหรี่(OR= 2.09, 95%CI: 1.01 to 4.62,p-value = 0.034)และ ทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ (OR=2.21, 95%CI: 1.05 to 4.49,p-value = 0.018)&nbsp; ดังนั้น&nbsp;&nbsp;&nbsp; ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายและมีทัศคติที่ดี ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเลิกสูบบุหรี่ของคนใกล้ชิด</p> ER -