การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • โกวิทย์ ทองละมุล โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการใช้ยา, โรคหืด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรคือผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการรักษาที่คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลศรีรัตนะ ปีงบประมาณ 2561จำนวน 184 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 125 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 การรับรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงการรับรู้ความรุนแรงการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคส่วนที่ 3 พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดประกอบด้วย การใช้ยาให้ถูกคน ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกวิธี ถูกเวลา และความสม่ำเสมอในการใช้ยาการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ3 ท่านและนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนารายงานค่าเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=2.76, S.D.=0.423) และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=2.83, S.D.=0.375)การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการรับรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.311, P-value<0.001) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรทางสุขภาพมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด โดยการให้คำแนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหืดและลดอุปสรรคในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืด

References

อรพรรณ โพชนุกูล, สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็ก. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง; 2558: 149-184.

World Health Organization [WHO].(2011). Astma. Retrived March 13, 2019, from https://www.who.int/mediacentte/factsheets/fs307/en/index. html.

วัชรา บุญสวัสดิ์. โรคหืด. ใน นิธิพัฒน์ เจียรกุล (บรรณาธิการ), ตำราโรคระบบการหายใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2561: 444-454.

รายงานสรุปข้อมูลด้านคลินิก, พ.ศ. 2558-2560.โรงพยาบาลศรีรัตนะ; 2561.

นิราวดี พัชนี, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหอบหืด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2557; 8(3): 92-103.

Rosenstock, Irain M. The Health Belief Model and Prevention Behavior. Health Education Monographs; 1974.

ปรีชา มนทกานติกุล ระบบการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา ใน: ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนาจุฬาวัฒนทล, ปรีชา มนทกานติกุล, บรรณาธิการ. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย);2547.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall. 1977.

Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.

Paul O'Byrne, Eric D. Bateman, Jean Bousquet, editor.Global Strategy for Asthma Management and Prevention. 2006 : p. 7-9.

วัชรา บุญสวัสดิ์, กมล แก้วกิติณรงค์, ศิวศักดิ์ จุทอง, ประพาฬ ยงใจยุทธ, สุชัย เรืองรัตนกุล, อรพรรณ โพชนุกูล, แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่, 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพมหานคร: บียอนช์ เอนเตอร์ไพรช์, สมาคมองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ; 2560.

อภิฤดี เหมะจุฑา, ปรีชา มนทกานติกุล ความคลาดเคลื่อนในการให้ยา ใน: ธิดา นิงสานนท์,

สุวัฒนาจุฬาวัฒนทล, ปรีชา มนทกานติกุล, บรรณาธิการ. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร:สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2547.

พัชรี วัฒนชัย, พัชราภรณ์ อารีย์,สุธิศา ล่ามช้าง. ความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวและการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็กของผู้ดูแลในครอบครัว. พยาบาลสาร. 2559(43): 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2019