พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธิติ บุดดาน้อย สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เบญญาภา กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

บุหรี่, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, พฤติกรรมการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น จำนวน 285 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.5 นำไปทดลองใช้และหาความเที่ยง หมวดความรู้มีค่า 0.72  หมวดทัศนคติ มีค่า 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-Square Test , Odds Ratio และ 95 % CI

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนเคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 29.1 (95% CI:  23.91 to 34.77)  มีการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ร้อยละ 18.2 (95% CI: 13.93 to 23.22) มีความรู้เรื่องบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.5โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.56 คะแนน (S.D.=2.11 )มีทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.3 โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 คะแนน (S.D.= 0.47) และปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่อายุมากกว่า 15 ปี (OR=4.77, 95%CI: 2.30 to 9.78, p-value <0.001)ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่3เทียบกับปีที่ 1(OR=3.95, 95%CI: 1.68 to 9.85, p-value = 0.002) มีบุคคลใกล้ชิดที่สูบบุหรี่(OR= 2.09, 95%CI: 1.01 to 4.62,p-value = 0.034)และ ทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ (OR=2.21, 95%CI: 1.05 to 4.49,p-value = 0.018)  ดังนั้น    ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายและมีทัศคติที่ดี ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเลิกสูบบุหรี่ของคนใกล้ชิด

References

ประกิต วาธีสาธกกิจ. ข้อเท็จจริง: เยาวชนไทยกับการสูบบุหรี่. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2550.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของ; 2555.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.สถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2559[ออนไลน์][ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2560].จากhttps://resource.thaihealth.or.th/library/hot/15369; 2559.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด; 2552.

นครินทร์ ประสิทธิ์. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนพระทองคำวิทยา ตำบลสระพระ อำเภอพระทองคำจัง หวัดนครราชสีมา.คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

วิลาวัณย์ ประทีปแก้วและคณะ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนจังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2552.

ขณิษฐ์ชา บุญเสริมและคณะ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัด ชัยภูมิ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ2552, 3(2), หน้า 6-14.

เรณู บุญจันทร์และคณะ.พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนจังหวัดระนอง, รายงานการ วิจัยของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดระนอง; 2552.

ณินท์ญาดา รองเดชและคณะ.การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดตรัง. รายงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2552.

ชุมพร ลับภู. พฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอห้วยเม็กจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019