แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ รังสรรค์สฤษดิ์ โรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต ประชากรคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 159 คนคำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 124 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=2.56, S.D.=0.32)ปัจจัยค้ำจุนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=2.09, S.D.=0.32) ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=1.96, S.D.=0.31) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.285, p-value<0.001 และ r=0.374, p-value<0.001) ตามลำดับข้อเสนอแนะจากผลวิจัย ควรนำข้อมูลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน/องค์การ ใช้ในการสร้างเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้งได้ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและปรับปรุงระบบบริหารเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและไม่คิดที่จะลาออกจากงาน

References

สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์. พยาบาลของชุมชน. ค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 จากเว็บไซด์https://www.doctor.or.th/taxonomy/term/916., 2554.

วชิระ เพ็งจันทร์. เปิดทางก้าวหน้าพยาบาลระดับสูงกว่าหมื่นตำแหน่งสกัดลาออก. ค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558, จากเว็บไซต์

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000137912. 2557.

โรงพยาบาลป่าตอง. รายงานข้อมูลบุคลากรกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลป่าตอง.2558.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีจำกัด, 2547.

Herzberg, Frederick and others. The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons, 1967.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed). New York: John Wiley & Sons, 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall, 1977.

Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.

ทวี จันทเพ็ชร์. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานปุ๋ยศิริจันทร์.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.2550.

นันท์นภัส โตล่ำ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. งานสารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและการพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับนเรศวร.2553.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2550.

มาลี เกื้อนพกุล, อรอนงค์ ทวนพรมราช, อภิญญา เพียรพิจารณ์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 2552,25(1): 4-19.

บุญมา อัครแสง, เรืองยศ จันทรสามารถ, รังสรรค์ สิงหเลิศ, ศักดิ์พงศ์ หอมหวล. ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2552,3(2): 79-89.

มะลิวรรณ ศรีโพธา. ปัจจัยการเสริมสร้างขวัญที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครูวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพิจิตร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.2554

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019