การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ชลิต อิฐไธสง
  • ดำเกิง โถทอง
  • วิลาศ โพธิสาร

คำสำคัญ:

สมรรถนะเชิงพฤติกรรม, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ความสามารถในการแข่งขัน, ความสำเร็จในการประกอบการ

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่าง ก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

          การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง ออกแบบการศึกษาแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้าน ช่องแมว จำนวน 25 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.46 / 82.53 ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านช่องแมว มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.61 และ S.D. = 0.49)

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว

 

          This study aimed to 1) study the efficacy of learning management for developing learning results on Ban Chong Maeo history by using project-based learning model 2) study learning results of Prathom 5 students of Ban Chong Maeo School, before and after learning Ban Chong Maeo history using project-based learning model and 3) study the satisfaction of Prathom 5 students of Ban Chong Maeo School, toward Ban Chong Maeo history by using project-based learning model.

          This study was conducted using a quasi-experimental study. The One Group Pretest-Posttest Design was designed by the researcher to use in this study. The sample of Prathom 5 students of Ban Chong Maeo School of 25 people was chosen by using purposive sampling. Three research methodologies applied in this study were (1) learning plan to develop learning results on the learning History of Ban Chong Maeo by using project-based learning model (2) a set of tests for learning evaluation on Ban Chong Maeo history by using project-based learning model and (3) a set of questionnaire to find out students’ satisfaction on the teaching of Ban Chong Maeo history using project-based learning model.

          Findings

  1. The learning plan to which the researcher had designed efficiency resulted at 82.46/82.53 which considered pass comparing to the standard at 80/80.
  2. After taking project-based technique, students of Prathom 5, Ban Chong Maeo School, had .01 per cent higher learning result than before.
  3. In conclusion, the satisfactory of Prathom 5 students at Ban Chong Maeo School found that, they had high satisfactory on learning management of Ban Chong Maeo history by using project-based learning model (X= 4.61 , S.D. = 0.49).

Keywords : Project-based Learning Model, The History of Ban Chong Maeo.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)