การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • แทนลัดดา ปัฐพี
  • จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 137 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยภาพรวมและทุกแบบ อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ แบบร่วมมือ แบบประนีประนอม แบบการเอาชนะ แบบการหลีกเลี่ยง และแบบการยอมให้ ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบวิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีการเลือกใช้วิธีจัดการกับความขัดแย้ง โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน
  3. ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรศึกษาสาเหตุของความขัดแย้ง ให้ฝ่ายที่มีความขัดแย้งได้รู้ ศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งพร้อมทั้งแนวทางแก้ไขร่วมกัน ควรจัดการกับความขัดแย้งโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย รวมทั้งคู่ขัดแย้งด้วย ควรจัดกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ควรสร้างความเข้าใจ และควรใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการในสถานศึกษา เพื่อลดความขัดแย้ง

คำสำคัญ : การจัดการความขัดแย้ง ผู้บริหารสถานศึกษา

 

          The research aimed 1) to study the methods to solve conflicts employed by the school administrators under the jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area 2, 2) to compare the method to deal with the conflicts and 3. to explore the recommendations on how to solve the conflicts. The samples used in the study were 137 school administrators affiliated to the Office of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area 2. The research
instrument was a five-rating scale questionnaire of a confidence value equivalent to .96. Statistics used were mean, standard deviation, t-test and one way variance test.

          The research findings were as follows.

          The conflict handling or management by the school administrators in the study was found to be at a high level. The methods employed by the administrators can be arranged in a descending order of significance: cooperation, compromise, tacit win, and reconciliation. As for a comparison of the conflict methods, it was found that the administrators different in sex, educational levels, and working experience were not different in making use of the ways to deal with conflicts.

          Concerning the recommendations on the conflict management, it was found that the administrators were supposed to find the root causes of conflicts; the conflicting parties were to be allowed to know the causes and cooperate to handle the issues; the activity involving both sides should be organized to enable them to work as a team; both sides should be willing to listen to each other and recognize the difference present between them and last but not least, the good governance should be administered to bring about peace and reconciliation to all parties
concerned.

Keywords : Conflict Solution, the School Administrators

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)